วิสุทธิวาจา: ทางของพระพุทธเจ้า วิสุทธิวาจา 1 หน้า 100
หน้าที่ 100 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงแนวทางที่ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ โดยเน้นถึงความสำคัญของเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และความอดทนในการเผชิญกับอารมณ์ที่ไม่ดี เช่น อภิชฌา และพยาบาท ผ่านการสอดแทรกเรื่องราวของพระเวสสันดรที่ทรงอดทนและไม่ยอมตอบสนองต่อความโกรธได้อย่างชาญฉลาด โดยยกตัวอย่างการจัดการกับความรู้สึกนี้ให้แก่ภิกษุและอุบาสกที่ติดตามพระธรรมเทศนา

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
-ความสำคัญของเมตตาและความอดทน
-ตัวอย่างจากพระเวสสันดร
-การจัดการกับอารมณ์ที่ไม่ดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

100วิสุทธิวาจา 1 นี่ไม่ใช่ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นี่เป็นทางไปของมารเสียแล้ว อย่างนั้น คนอย่างชนิดนั้นรวยไม่ได้ มั่งมีไม่ได้ คนจะรวยได้ จะมีได้ ต้องประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดังกล่าวแล้ว นั่นแหละเป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เป็นทางไป ของพระแท้ๆ นี่เป็นภิกษุสามเณร จะทำกิจการอันใด ทำนา ทำสวน ทำราชการ งานเมือง เล่าเรียนศึกษาใดๆ ต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอยู่อย่างนี้ นะ รักษาตัวเพื่อจะกีดกันเสียซึ่ง อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ให้มันหมด สิ้นไปเสีย ถ้าไม่ฉะนั้น ถ้าไม่ใช้อุบายทางใดทางหนึ่ง มันจะท่วมทับเราให้ได้ ต้อง ใช้ความอดทน อดทนต่ออภิชฌา อดทนต่อพยาบาท อดทนต่อมิจฉาทิฏฐิ อด ทนต่ออภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ เป็นการตั้งอยู่ในขันติโดยปริยาย อดทนต่อความ โกรธที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน ระงับให้อยู่ในอำนาจเสียได้ นั่นได้ชื่อว่า ขันติโดยตรงทีเดียว เหมือนพระเวสสันดรให้ทาน ๒ กุมารไปแล้ว เป็นปุตตบริจาคไปแล้ว ชูชกแกมาตีลูกหน้า ที่นั่งเข้าให้แล้ว พระองค์ก็ทรงขยับพระแสงที่อยู่นั้นออก มาเป็นกอง แต่พระองค์ทรงสอดส่องด้วยพระปรีชาญาณ จนกระทั่งพระแสง ที่ขยับออกมานั่นเข้าไปอยู่ที่เก่าเสียได้ หดกลับเข้าไป หดเข้าไปเสียอย่างเก่า ไม่เอาละ ปล่อยกันที นี่มันหน้าที่ของเขา ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ปุตตบริจาคของเราสำเร็จแล้ว นี่มันทำลายปุตตบริจาคของเรา เรายอม ไม่ได้ ก็หดพระแสงกลับเข้าไปเสีย ไม่เป็นอันตรายแก่ชูชกแม้แต่นิดเดียว นี้ฉันใดก็ดี พระองค์ทรงอดกลั้นต่อความโกรธที่บังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า เรียกว่าขันติโดยตรงทีเดียว ขันตินี่แหละเป็นตัวสำคัญนะ จะเป็นภิกษุสามเณร ที่ดีได้ก็ด้วยขันตินี่แหละ จะเป็นอุบาสก อุบาสิกาที่ดีได้ในธรรมวินัยของ พระศาสดา ก็ด้วยขันติความอดทนนี่แหละ รักษาเข้าไว้เถิด เลิศล้นพ้น ประมาณทีเดียว จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “โอวาทปาฏิโมกข์” ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More