วิปัสสนาและธรรมกาย วิสุทธิวาจา 1 หน้า 62
หน้าที่ 62 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงวิปัสสนาและการเห็นด้วยตาธรรมกาย ซึ่งมีความหมายว่า การเห็นแจ้งวิเศษและมีการรู้ที่ไม่มีที่สุด ประจำอยู่ในความเชื่อเกี่ยวกับการเห็นและรู้ที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้วิปัสสนาจะแตกต่างจากการมองเห็นในมิติอื่น ๆ เช่น ว่าด้วยร่างกายมนุษย์หรือกายทิพย์ การเข้าใจวิปัสสนาอย่างแท้จริงสามารถช่วยให้เข้าถึงธรรมกายได้อย่างลึกซึ้ง เนื้อหาผ่านการสั่งสอนจากพระธรรมเทศนาเรื่อง 'ติลักขณาทิคาถา' เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2497 ที่มีความสำคัญต่อผู้ที่สนใจในธรรมะและการฝึกปฏิบัติในด้านนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-วิปัสสนา
-ธรรมกาย
-การเห็นด้วยตาธรรมกาย
-การเห็นแจ้ง
-การฝึกปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

62 วิสุทธิวาจา 1 ๓๗ สมถะ-วิปัสสนา ถ้าว่ามีวิปัสสนาเห็น มีวิปัสสนาก็มีธรรมกาย เห็นด้วยตาธรรมกาย นั่นแหละเรียกว่า วิปัสสนา วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้งวิเศษ เห็นต่างๆ เห็นไม่มีที่สุด ตาธรรม กายโคตรภูเห็นแค่นี้ ตาธรรมกายโสดา-โสดาละเอียดเห็นแค่นี้ สกทาคา สกทาคาละเอียดเห็นแค่นี้ พระอนาคา-อนาคาละเอียดเห็นแค่นี้ พระอรหัต อรหัตละเอียดเห็นแค่นี้ หนักขึ้นไปไม่มีที่สุด นับอสงไขยไม่ถ้วน เห็นไม่มีที่สุด รู้ไม่มีที่สุด เห็น จำ คิด รู้ เท่ากัน เห็นไปแค่ไหน รู้ไปแค่นั้น จำไปแค่ไหน รู้ไปแค่นั้น คิดไปแค่ ไหน รู้ไปแค่นั้น เท่ากัน ไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน นี่อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนา เห็น อย่างนี้เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นด้วยตากายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เห็น เท่าไรก็เห็นไป เรียกว่าอยู่ในหน้าที่สมถะทั้งนั้น ไม่ใช่วิปัสสนา จริงๆ ละ ถ้าวิปัสสนาละก็ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย นั่นแหละเป็นตัววิปัสสนา จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “ติลักขณาทิคาถา” ๔ เมษายน ๒๔๙๗
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More