การหยุดใจในพระพุทธศาสนา วิสุทธิวาจา 1 หน้า 53
หน้าที่ 53 / 120

สรุปเนื้อหา

การดำเนินตามหลักการของพระพุทธศาสนาต้องอาศัยศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อเข้าถึงแก่นแท้และความสงบในจิตใจ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และปรมัตถปิฎก เป็นหลักที่สำคัญซึ่งช่วยให้สามารถปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้าได้ โดยเฉพาะการเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้องตามแนวทาง.

หัวข้อประเด็น

-การหยุดใจ
-หลักของพระพุทธศาสนา
-การปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา
-วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก
-ความสำคัญของการดำเนินตามหลัก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิสุทธิวาจา 1 53 ๓๐ ปล้ำใจให้หยุด เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไป พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่า ต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก็ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไป ไม่รอดทีเดียว เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎก คือ ศีลนั่นเอง ย่อลงในศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลงก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อัน เดียวกันนั่นเอง นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำ พระพุทธศาสนา ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ ละก็พบพระพุทธศาสนา ก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของ พระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้ เหมือนอยู่คนละจักรวาล จากพระธรรมเทศนาเรื่อง “ศีลทั้ง ๓ ประการ” ๑๔ มีนาคม ๒๔๙๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More