นิพพาน 3 และพระโพธิญาณของพระพุทธเจ้า วิสุทธิวาจา 1 หน้า 118
หน้าที่ 118 / 120

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความหมายของนิพพาน 3 ประการ ได้แก่ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน และธาตุนิพพาน โดยเล่าถึงเหตุการณ์ที่พระสิทธัตถะกุมารบำเพ็ญเพียรจนบรรลุถึงพระโพธิญาณ ณ ใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งทำให้พระองค์หลุดพ้นจากกิเลสที่เคยเล่นงานมานาน พร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการแตกทำลายของขันธ์และพระบรมธาตุของพระองคที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน

หัวข้อประเด็น

- นิพพาน 3 ประการ
- กิเลสนิพพาน
- ขันธนิพพาน
- ธาตุนิพพาน
- พระโพธิญาณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

118 วิสุทธิวาจา 1 ๔๗ นิพพาน ต อนึ่ง นิพพาน ๓ คือ กิเลสนิพพาน ๑ ขันธนิพพาน ๑ ธาตุนิพพาน ๑ มีความหมายดังนี้ คือ เมื่อวันเพ็ญวิสาขมาส (กลางเดือน ๖) ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี พระสิทธัตถ กุมารทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ ตัดกิเลสได้ขาดจากใจสิ้นบรรลุถึงซึ่งพระโพธิญาณ ณ ภายใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ครั้งนั้น กิเลสาสวะทั้งปวงที่เคยประจำคอยกีด กันพระองค์ ให้ทรงเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารมานับจำนวนหลายหมื่นหลาย แสนชาติเป็นอันมากนั้น ไม่อาจจะกลับมาสู่พระองค์ได้อีก ความสิ้นไปแห่งกิเลสาสวะ อันเป็นเครื่องเสียดแทงพระองค์มาตลอดนั้น เรียกว่า “กิเลสนิพพาน” ୩ ความแตกทำลายแห่งขันธ์ของพระองค์ ซึ่งแม้ในชาติใดๆ ก็ตาม ขันธ์ ในภพ ๓ นี้ ก็จะต้องสวมพระองค์ตลอดมา ความแตกทำลายแห่งขันธ์ในชาติ ที่สุดนี้ ขันธ์เหล่านี้ก็มิอาจจะสวมพระองค์ได้ และพระองค์ก็มิกลับมาสวม ขันธ์เหล่านี้อีกต่อไป เพราะพระองค์ทรงพ้นไปจากขันธ์เหล่านี้แล้ว ความแตก ทำลายแห่งขันธ์นี้ เรียกว่า “ขันธนิพพาน” พระพุทธเจ้าองค์ที่สุดนี้คือ พระสมณโคดม ปัจจุบันนี้พระบรมธาตุของ พระพุทธองค์ยังคงอยู่ ไม่สูญสิ้นไป ก็ยังไม่เรียกว่าธาตุนิพพาน ต่อเมื่อใดเสร็จ พุทธกิจของพระองค์ที่จะต้องทำในภพนี้แล้ว ขณะนั้นพระบรมธาตุของพระองค์ ก็จะสูญไปจากภพนี้ ความสิ้นไปแห่งพระบรมธาตุนี้เรียกว่า “ธาตุนิพพาน” จากพระธรรมเทศนาย่อ “คู่มือสมภาร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More