การฝึกจิตใจให้สงบ ง่ายที่สุดถึงจุดหมาย 1 หน้า 238
หน้าที่ 238 / 256

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเน้นการฝึกจิตใจให้สงบด้วยการนึกภาพและบริกรรมภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำว่า 'สัมมา...อะระหัง' เพื่อให้จิตใจมั่นคงและอยู่กับตัว ควรนึกให้นึกได้ตามอารมณ์และไม่บังคับตัวเองมากเกินไป เพื่อให้เกิดความสบายใจในการทำสมาธิ จากนั้นส่งจิตไปยังจุดกลางท้อง เพื่อให้หยุดนิ่งและรายละเอียดที่เป็นอุปสรรคลดลง โดยไม่ต้องกลับมาภาวนาใหม่หากจิตได้ผ่อนคลายตามที่ต้องการแล้ว

หัวข้อประเด็น

-หลักการทำสมาธิ
-การบริกรรมภาวนา
-การตั้งเป้าหมายในการฝึกจิต
-ความสำคัญของการมีจิตที่สงบ
-วิธีการนึกภาพเพื่อความสงบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๓๘ ก็อย่าไปฮัดฮัดว่า ทําไมเรานึกอะไรก็นึกได้ชัด ทําไมมานึกอย่างนี้มันไม่ชัด นึกเท่าที่นึกได้นะ ย นึกได้แค่ไหนเราก็เอาแค่นั้น สมมติเรา นึกถึงดวงกลม ๆ บางทีมันจะบูดบ้าง เบี้ยว บ้าง ช่างมัน ให้มีภาพอยู่ในท้องก็แล้วกัน องค์ พระก็เหมือนกัน บางทีก็เห็นตั้งแต่เศียรบ้าง แขน ขา มือ มีอะไรก็ดูไป เพื่อต้องการให้ใจอยู่ กับตัว แล้วก็ประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา ภาวนาในใจ อย่างสบาย ๆ ภาวนาว่า สัมมา... อะระหัง สัมมา...อะระหัง สัมมา...อะระหัง จะ ภาวนากี่ครั้งก็ได้ จนกว่าใจเราไม่อยากภาวนา อยากอยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องหวนกลับมาภาวนาใหม่ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องจับหลักให้ได้ว่า วัตถุประสงค์ของการทำอย่างนี้ เพื่อต้องการ ให้ใจมาอยู่กับตัว อยู่ในกลางท้อง ตรงบริเวณ ฐานที่ ๗ เพื่อให้หยุด ให้นิ่ง มาอยู่นาน ๆ จน 238
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More