การบวชและการศึกษาในพระพุทธศาสนา เปิดค่าย ตำนานสามเณรเตรียมบวชอุทิศชีวิต หน้า 11
หน้าที่ 11 / 234

สรุปเนื้อหา

เมื่อบวชแล้วควรตั้งใจเรียนรู้คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแบ่งปันความรู้เพื่อสร้างบุญให้แก่ผู้อื่น การดำรงชีวิตในฐานะสมณะจะต้องไม่มีหนี้ในข้าวของที่ได้รับจากญาติโยม และจะต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเหมือนเพชรพลอยที่ต้องผ่านกระบวนการหล่อหลอมให้อ่อนตัวมากขึ้น ที่ช่วยให้เข้าถึงนิพพานได้ในที่สุด การฝึกฝนตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามีกลไกการเผชิญกับความยากลำบากและตรงไปสู่วิมานแห่งนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-การบวช
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-การสร้างบุญ
-การพัฒนาตนเอง
-การแบ่งปันความรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้น เมื่อบวชแล้วก็ต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนคำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าอย่างเดียว ฝึกฝนตัวของเราให้ดี ให้มีประสบการณ์ภายใน แล้วก็ สั่งสอนผู้อื่น ให้ธรรมทาน แบ่งปันความรู้ของเราที่ได้ศึกษามาอย่างดีแล้ว ไป ให้กับมวลมนุษยชาติ นี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องกระทำกัน เมื่อมาบวชแล้วทำได้อย่างนี้ เราก็จะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่เป็นหนี้ในสิ่งที่บริโภคที่ญาติโยมเขาถวายด้วย ศรัทธา จะเป็นอาหาร เสนาสนะ ยารักษาโรค เป็นต้น โดยเราจะบริโภคด้วย ความเป็นนาย เป็นผู้ให้ คือ เป็นแหล่งแห่งบุญที่เราได้เอาบุญไปให้เขา ไม่ใช่ใน ฐานะที่เราเป็นหนี้ และเมื่อบวชแล้วต้องดียิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะว่า ชีวิตสมณะก็คล้าย ๆ กับเพชรพลอย ยิ่งผ่านกาลเวลา เพชรพลอยก็ยิ่งสุกใส พระบวชไปนาน ๆ บารมี เพิ่มขึ้น ในแต่ละวันที่ผ่านไป ความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ก็ต้องเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เพชรพลอยกว่ามันจะสุกใสขึ้น นอกจากผ่านกาลเวลาแล้ว ยังถูกอบด้วยความ ร้อน แรงกดดัน และสิ่งต่าง ๆ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ อะไรต่าง ๆ เหล่านั้นหล่อ หลอมให้เพชรพลอยสุกใสขึ้นไปเรื่อย ๆ พระก็เหมือนกัน เราก็จะต้องบำเพ็ญ ตบะให้แก่กล้า จนกระทั่งยังกิเลสให้เร่าร้อนออกไป ยิ่งมีแรงกดแรงดันเท่าไหร่ ก็ยิ่งฝึกฝนอบรมตัวของเราให้เป็นสมณะที่สมบูรณ์ขึ้นไปเรื่อย ๆ ยิ่งอบยิ่งรมก็ ยิ่งเข้าใกล้ไปสู่นิพพานเรื่อย ๆ ฝึกตัวกันไปนะลูกนะ (พระราชภาวนาวิสุทธิ์) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More