การศึกษาและการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรม เปิดค่าย ตำนานสามเณรเตรียมบวชอุทิศชีวิต หน้า 20
หน้าที่ 20 / 234

สรุปเนื้อหา

หมั่นศึกษาธรรมะด้วยความตั้งใจเพื่อความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แม้ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ในชาตินี้ แต่ต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นที่โยนิโสมนสิการเพื่อการเข้าใจอย่างลึกซึ้งและการปฏิบัติอย่างมีระบบ เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ที่ไม่หยุดฝึกฝนแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก การศึกษาธรรมะไม่ใช่เพียงการจำ แต่ต้องมีการคิดและปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อเสริมสร้างบารมีให้ถึงที่สุดแห่งธรรมจริงๆ

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาและการปฏิบัติธรรม
-โยนิโสมนสิการ
-ปัญญาและการพัฒนา
-การสร้างบารมี
-การบวชและความตั้งใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หมั่นศึกษาธรรมะจนเกิดโยนิโสมนสิการ ทุกอย่างที่เรียนไม่ว่าธรรมะหมวดไหนก็ตาม ต้องเรียนในฐานะที่ลูกตั้ง ใจจะบวชอุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนาให้ได้ตลอดรอดฝั่งอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่กระ พร่องกระแพร่ง แม้ชาตินี้คงไม่ได้เป็นพระอรหันต์ แต่อย่างน้อย อย่าให้มีตำหนิ ติดตัว เดี๋ยวจะกลายเป็นแผลลึกข้ามชาติ ถ้าเราความจำไม่ค่อยดี ก็ต้องอ่านแล้วอ่านอีก ไม่ดูเบา ต่อไปข้างหน้า จะเป็นคนเก่งได้ แต่ถ้าใครความจำดี อ่านปราดเดียวก็จำได้ วันหลังเลยไม่อ่านอีก ก็ขอบอกว่าประมาท เพราะความรู้ประเภทนั้นเป็นความรู้ประเภทความจำ ยังไม่ ได้ก้าวสู่ความรู้ประเภทความคิด ที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังมาทั้งหมดนี้ เป็นความรู้ที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ คิดอย่างเป็นระบบ แล้วก็ย้อนมาดูตัวจนกระทั่งนำมาปฏิบัติได้ เมื่อทำอย่างนี้ เคยมากเข้า จึงจะเข้าไปสู่ความรู้ประเภทที่เกิดจากการทำภาวนาที่ลึกซึ้งอีกระดับหนึ่งได้ ปัญญามนุษย์ไม่เป็นขั้น ๆ คือ รู้จำ รู้จริง รู้แจ้ง ซึ่งทั้งหมดต้องทำซ้ำ แล้วซ้ำอีก ไม่มีหยุด พระโพธิสัตว์ ขนาดต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานท่านก็ยังฝึกตัวเองไม่ หยุดหย่อน เพื่อจะเอาปัญญาจากการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แล้วตอน นี้ลูกมาเป็นสามเณรแล้ว จะบอกว่าไม่ไหว ไม่ได้ ถ้าทำได้อย่างนี้ การบวชของลูกสามเณรจะไม่ใช่บวชตามใคร แต่บวชเพื่อจะสร้างบารมีไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรมอย่างแท้จริง (พระภาวนาวิริยคุณ) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More