การศึกษาและการปฏิบัติธรรมในพระไตรปิฎก เปิดค่าย ตำนานสามเณรเตรียมบวชอุทิศชีวิต หน้า 153
หน้าที่ 153 / 234

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความท้าทายในการอ่านพระไตรปิฎก และการพัฒนาความเข้าใจในหลักธรรม โดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงธรรมะหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน ผู้ที่มีโยนิโสมนสิการและหลักการที่ดีจะสามารถตีความได้ชัดเจน ในบทความยังมีการบรรยายถึงประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนในการฟังธรรมะและการฝึกปฏิบัติ โดยสื่อถึงความสนุกและความตั้งใจในการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังสะท้อนถึงความผันแปรในความขยันในการคิดและปฏิบัติธรรมในช่วงเวลาต่าง ๆ

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาพระไตรปิฎก
-การปฏิบัติธรรม
-ความเข้าใจในหลักธรรม
-ประสบการณ์ในการฟังธรรมะ
-โยนิโสมนสิการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

60-0 60.0 ในวันนี้เลยทำให้ผมมึนหัว ความคิดสับสนมาก ซื้อไปหมด ฟังพระ อาจารย์พูดดูเหมือนจะง่าย ๆ แต่พอได้ปฏิบัติเข้าจริง ๆ ไม่หมูเลย หมีชัด ๆ ผมเข้าใจชัดเลยว่า คนที่จะอ่านพระไตรปิฎกแล้วสามารถจัดหมวดหมู่ของธรรมะ ๆ แต่ละอย่างเชื่อมโยง หรือมองเห็นภาพชัดเจน อ่านแล้วสามารถตีประเด็นออก มา มองเห็นเป็นฉาก ๆ เป็นขั้น ๆ เป็นตอนของลำดับเหตุการณ์ ผมว่าผู้ที่อ่าน ต้องมี โยนิโสมนสิการอย่างมาก ๆ ทีเดียว และต้องมีหลักการพอสมควรจึงจะ สามารถอ่านพระไตรปิฎกแล้วแตกฉานได้ ๙ เมษายน ๔๗ เข้าไปอยู่ในใจ วันนี้ เริ่มได้เปิดพระไตรปิฎกอีกแล้ว แต่คราวนี้ให้อ่านแบบสังเกตว่า ในแต่ละเรื่องบอกอะไรบ้าง และมีอะไรซ่อนอยู่ในเนื้อหา เป็นการอ่านแบบจับ ข้อที่สัมพันธ์กันแบบทอดต่อไปเรื่อย ๆ ในปี ๒๕๔๓ ผมได้ฟังธรรมะจากพระอาจารย์หลายรูป และหลาย เรื่องจนมันเข้าไปอยู่ในใจ นั่งคิดนอนคิดตลอดเวลาว่า หลักธรรมนี้เกิดขึ้นต้อง ดับด้วยตัวนี้ แล้วธรรมะข้อนี้ จะเกิดขึ้นต้องทำอย่างนี้ ถ้าจะทำอย่างนี้ จะมี ธรรมอะไรเกิดขึ้นอีกได้บ้าง ฯลฯ ผมคิดแบบเล่น ๆ มันรู้สึกสนุกดี จนบางครั้ง นอนไม่หลับ และไม่ง่วงด้วย ตอนเช้าไปนั่งธรรมะที่สเตท ก็ไม่หลับ และไม่ง่วง กลับนั่งได้ค่อนข้างดีซะด้วย แต่พอหลัง ๆ มา ไม่ค่อยได้ขยันคิดเท่าไร จนมัน ค่อนข้างจะหายไปแล้ว น่าเสียดาย 60.0 60.0 60.0 600
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More