การศึกษาพระวินัยปิฎกและการเรียนรู้ธรรมะ เปิดค่าย ตำนานสามเณรเตรียมบวชอุทิศชีวิต หน้า 154
หน้าที่ 154 / 234

สรุปเนื้อหา

การศึกษาพระวินัยปิฎกช่วยให้นักเรียนเข้าใจพระไตรปิฎกมากขึ้น แม้จะไม่มีความรู้ก่อนหน้า การลงลึกในเนื้อหาและการอ่านชาดก ช่วยให้เกิดการสนุกและได้ข้อคิด พร้อมกับการพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ความหมายและการปฏิบัติธรรม การตั้งใจศึกษาต่อเนื่องจะนำมาซึ่งความสำเร็จในด้านการรู้ธรรมะ.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาพระวินัยปิฎก
-การอ่านชาดก
-การพัฒนาตนเอง
-การวิเคราะห์ความหมาย
-ความสำคัญของการตั้งใจศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

60.0 60.0 60.0 60. 60 60 ๙ เมษายน ๔๗ มิใช่สิ่งยาก...ขอเพียงมีความตั้งใจ สำหรับการศึกษาพระวินัยปิฎก ก็จบคอร์สไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผมได้ เข้าใจในพระไตรปิฎกมากขึ้น แต่ก่อนไม่มีความรู้ด้านนี้เลย พอพระอาจารย์สอน ผมก็เข้าใจทั้งการค้นคว้า และวิธีการปฏิบัติต่างๆ มากขึ้น มาในวันนี้ก็ได้เรียน วิชาการศึกษาพระไตรปิฎก พร้อมทั้งการอ่านชาดก แล้วจับประเด็น และแง่คิด มุมมองในความหมายของเนื้อความนั้น พร้อมทั้งได้ทราบองค์ประกอบ จุดเด่น ของเรื่อง ทำให้อ่านแล้วได้ข้อคิด และสนุกในการอ่าน อาวุธที่ดีที่สุด คือ การวินิจฉัยตัวเองว่า เอาอย่างไรดี ผู้ที่มีความรู้ในธรรมะมากนั้นจะต้องมีองค์ แห่งพหูสูต ๕ คือ ฟังมาก จำได้ ท่องจนคล่องปาก จำขึ้นใจ และแทงตลอด การที่อ่านมาก ๆ ถึงแม้ว่า ตอนแรกเราจะไม่เข้าใจ แต่ความรู้จากการที่เรา ศึกษามานั้นก็จะค่อย ๆ มารวมกัน แล้วเมื่อถึงวันนั้น...วันที่เรามีภูมิความรู้แน่น เราจะรู้ว่า มันก็มิใช่เป็นสิ่งที่ยากเลย ขอเพียงเรามีความตั้งใจคิดที่จะทำเท่านั้น ความสําเร็จก็จะรอเราอยู่ข้างหน้าแล้วครับ 60 ๑๓ เมษายน ๔๓ หน้าที่ของพระ หน้าที่ของชาวประมง คือ หาปลา หน้าที่ของชาวนา คือ ปลูกข้าว หน้าที่ของศิลปิน คือ สร้างศิลปะ หน้าที่ของพระ คือ สอนตนเองและสอนผู้อื่น วันนี้ผมสังเกตเห็นน้อง ๆ เขาตื่นเต้นมากครับที่ได้เรียนเทศน์และทดสอบ พูดจริง และมีการประเมินด้วย รู้สึกว่า ตื่นตัวกันมาก บางรูปถึงกับมาซ้อมเขียน 60-0 60-70 60-20 60%
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More