การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา เปิดค่าย ตำนานสามเณรเตรียมบวชอุทิศชีวิต หน้า 210
หน้าที่ 210 / 234

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการปฏิบัติธรรมและการฝึกอบรมภายใต้การดูแลของพระอาจารย์ โดยย้ำถึงความสำคัญของการเชื่อฟังและการเปิดใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เข้าถึงความรู้ทางพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง การวิเคราะห์การอ่านและการประเมินเนื้อหาให้เข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนให้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการฝึกอบรม
-การเชื่อฟังพระอาจารย์
-การอ่านและวิเคราะห์พระไตรปิฎก
-การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
-การสอนในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

| 60.0 พี่เลี้ยงให้ได้ ไม่ว่าอดีตท่าน จะเคยเป็นพี่เณรเรา เคยเล่น กันมาก่อนก็ตาม แต่ในขณะ ที่ท่านสั่งงานเรา ท่านเป็น 60 พระอาจารย์แล้ว ฐานะเรา ต่างกันแล้ว ต้องเชื่อฟัง 60-70 600 60 60 60-0 จะเห็นได้ว่า เราคิดแค่นี้เอง เราก็จะมีอารมณ์ฝึกตัวกัน แล้ว พออบรมได้ไม่นานมีการแนะนำพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยงเท่านั้นแหละ เรารู้ แล้วว่า การฝึกตัวมันกำลังจะเริ่มขึ้นในเร็ววันอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้แน่นอน พอท่านเข้า มาก็มีการปรับปรุงอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นในชีวิตการอบรมเท่านั้นพอ เอากันง่าย เลยท่านว่าของอะไรที่ใช้ไม่ทุกวันภายใน ๗ วันต้องเอาออก คิดได้ไง แต่ไหน ๆ แล้วเราเป็นผู้เข้าอบรมนี้ก็เชื่อเขาไป ไม่มีข้อแม้เงื่อนไข จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าเรา จะไปฝึกตัวกับใครต้องอ่อนน้อม ไม่ขัดขืน ทำตามไปก่อน ไม่ต้องโต้แย้ง แล้ว ๆ เราจะได้คุณธรรมอะไรต่าง ๆ และความรู้อะไรต่าง ๆ ที่เขาจะถ่ายทอดให้เรา มากมาย ถ้าเรามัวมีทิฐิละก็ โดนแน่....เท่ากับเป็นการปิดกันตัวเองชัด ๆ ถ้าใคร คิดอย่างนี้ได้ฝึกตัวรอดทุกคน ผมมั่นใจ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกหน สิ่งที่เราไม่เคยได้ศึกษาก็ได้มา ศึกษากันพระไตรปิฎก โอ้โห ! อ่านกันเข้าไป มันครับ แต่ไม่รู้เรื่อง “อ้าวทำไม ไม่รู้เรื่องล่ะ” ก็การอ่านที่ดี ไม่ใช่อ่านแต่จบให้มันครบ ๔๕ เล่มนี่ครับ มันต้อง อ่านให้เห็นเป็นภาพ ประเมินอายุคนในเวลานั้นได้หาจุดหักเหของเรื่อง และ อะไรอีกมากมาย แต่ในรายของผมนั้นมันเป็นการอ่านพระวินัยที่เกิดมาเพื่อพระ โดยเฉพาะ โอ้โห ! ยากสุด ๆ ต้องบอกว่ายาก มันต้องวิเคราะห์ให้เห็นที่มาที่ 60.20 ๆ 600
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More