อิทธิบาท 4: สูตรแห่งความสำเร็จในพระพุทธศาสนา MD 204 สมาธิ 4  หน้า 13
หน้าที่ 13 / 106

สรุปเนื้อหา

อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางในการไปสู่ความสำเร็จในพระพุทธศาสนาด้วยการนำเอาส่วนประกอบหลัก 4 ประการ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ วิมังสา เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายในชีวิต ทั้งด้านโลกและด้านธรรม. ความสำเร็จเกิดจากความรักและความสนใจในทำงาน และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล การมีฉันทะในการทำงานนั้นส่งผลต่อประสิทธิภาพอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ทำงานมีความรักและตั้งใจในงาน จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ง่าย ในขณะที่การทำงานโดยไม่เต็มใจจะมีผลลัพธ์ที่ต่ำกว่า. เข้าใจความสำคัญของอิทธิบาท 4 จะช่วยให้คุณค้นพบทางไปสู่ความสุขในชีวิตได้อย่างแท้จริง. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอิทธิบาท 4 ที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-อิทธิบาท 4
-ธรรมะนำความสำเร็จ
-ความสำคัญของฉันทะ
-การทำงานด้วยใจ
-การตริตรองอย่างมีเหตุผล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

.. บทที่ 1 อิทธิบาท 4 ธรรมะที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นสูตรแห่งความสำเร็จของธรรมะในพระพุทธ ศาสนาที่จะนำความสุขมาสู่ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นกิจการงานทางโลก หรือว่างานทางธรรมก็ตาม อิทธิบาท 4 มาจาก อิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ หรือว่า ความสำเร็จ บาท แปลว่า ทางไป อิทธิบาท" แปลว่า คุณเครื่องให้สำเร็จ ความประสงค์หรือทางไปสู่ความสำเร็จ ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น 3. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ 4. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น 1.1 ฉันทะ ฉันทะ แปลว่า ความพอใจรักใคร่ หมายความว่า พอใจ รักใคร่ที่จะทำความดี ด้วยความ เต็มใจและตั้งใจอย่างแรงกล้า ซึ่งความดีที่ควรทำนั้นมีประการต่างๆ ตัวอย่างเช่น การศึกษาศิลปวิทยาทางโลก และทางธรรม การประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิต การปฏิบัติพระธรรมพระวินัยคุ้มครองจิตใจให้สงบ แช่มชื่น จนกระทั่งการทำจิตให้หมดจดจากกิเลส 1.1.1 ฉันทะในการทำงาน ฉันทะ ความรักความพอใจ ที่จะทำงาน คือ มีงานเมื่อไหร่ ก็จะทำด้วยความเต็มอกเต็มใจด้วย ความสุขใจ เต็มใจทำ ฉันทะนี้มีความสำคัญอย่างมากๆ ต่อการทำงานทุกๆ อย่าง ลองนึกถึงตัวเราเอง ถ้าเราทำงานชิ้นไหนด้วยความรัก สนุกกับงาน งานนั้นย่อมประสบความสำเร็จได้ง่าย ในทางกลับกัน ถ้ามี งานชิ้นไหนทำด้วยความฝืนใจ ไม่อยากทำเลยจริงๆ ถูกบังคับให้ทำ ถูกสั่งให้ทำ ต้องจำใจทำ ผลที่ได้จะไม่ เท่ากัน ค่าที่เกิดขึ้นจะไม่เท่ากัน ความสำเร็จก็ไม่เท่ากัน เหมือนพวกทหารอาสากับทหารเกณฑ์ไปสู้รบแล้ว ประสิทธิภาพไม่เท่ากัน พวกทหารอาสาจะทำด้วยใจ และทำได้ดีกว่า เป็นต้น 2 อภิธรรมปิฎก วิภังค์, มก. เล่ม 35, หน้า 292. คณาจารย์เลี่ยงเชียง, แบบประกอบนักธรรมตรี อธิบายธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 1, (กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง 2536), หน้า 94. 3 พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ, “อิทธิบาท 4”, ไม่ระบุวันเดือนปี (เทปตลับ) 2 ตลับ 4 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More