การเห็นด้วยใจและความละเอียดของสติ MD 204 สมาธิ 4  หน้า 68
หน้าที่ 68 / 106

สรุปเนื้อหา

การเห็นภายนอกเป็นการมองเห็นทันทีที่เราลืมตา ขณะที่การเห็นภายในนั้นเริ่มจากความรู้สึกเลือนลางจนกระทั่งชัดเจนขึ้น หากต้องการให้เห็นภาพภายในชัด เราจำเป็นต้องหยุดคิดและนิ่ง การเห็นด้วยใจมีสามระดับ ตั้งแต่ชัดน้อย ชัดเท่ากับลืมตาเห็น และชัดมากกว่าลืมตาเห็น โดยการเห็นภายในนั้นมีความละเอียดและความใสที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทำให้เราสามารถเข้าสู่สภาวะของความสว่างที่ไม่สิ้นสุด

หัวข้อประเด็น

-การเห็นภายนอก
-การเห็นภายใน
-ระดับการเห็นด้วยใจ
-การหยุดใจและความละเอียดของภาพภายใน
-การพัฒนาความใสในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เราจะเห็นไม่ค่อยชัดเหมือนคนสายตาสั้นถอดแว่นแล้วก็ดูวัตถุ จะมองเห็นไม่ค่อยชัด หรือเหมือนการนึก ดอกบัว บางคนนึกได้ 5% 10% 50% นานๆ ในร้อยในพันคน จะมีสักคนหนึ่งเห็นได้ 100% สรุปก็คือ การเห็นวัตถุภายนอกเราจะเห็นได้ทันทีที่เราลืมตาเห็น ในขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น แต่การเห็นภายในนั้น มันจะค่อยๆ เห็น จากรัวๆ ลางๆ จนกระทั่งชัดขึ้นมา ชัดน้อยกว่าลืมตาเห็น ชัดเท่า ลืมตาเห็น แล้วก็ชัดยิ่งกว่าลืมตาเห็น จะแตกต่างกันตรงนี้ 3) วิธีการเห็นที่แตกต่างกัน เวลาที่เราจะทำให้เห็นภาพภายในชัดเจน จะแตกต่างจากวิธีการเห็นภาพภายนอก ภายนอกเราอยาก จะมองอะไรให้ชัด เราต้องเพ่ง ต้องจ้อง ต้องทำตาหยีๆ จึงจะเห็นได้ชัด แต่ถ้าภายใน ถ้าขืนเอาวิธีการ แบบนี้ คือ เพ่ง จ้อง ทำตาหยีไปใช้ เพื่อให้ชัด ก็จะไม่ชัด และผลที่ได้คือจะมืด แล้วก็มองไม่เห็น แสงสว่างภายในซึ่งจะเป็นเหตุให้เราได้เห็นภาพภายในนั้น จะเกิดขึ้นได้ ใจต้องละเอียด ใจต้องหยุด ใจต้องนิ่ง ถ้าใจหยุด ใจนิ่งอย่างสบายๆ แสงสว่างจะเกิดขึ้น นี่คือวิธีการทำให้แสงสว่างภายในบังเกิดขึ้น เราจะเอาไฟฉายไปส่อง เอาสปอตไลท์ไปดู หรือจะทำอย่างไรก็แล้วแต่ ทำไม่ได้ ต้องใช้วิธีหยุดใจของเรา นิ่งๆ นุ่มๆ ให้ละเอียดอ่อน ให้นุ่มนวล แล้วใจจะเกิดแสงสว่าง ความสว่างจะเกิดเมื่อความละเอียดของใจซึ่งเกิดจากการหยุดนิ่งบังเกิดขึ้น และความสว่าง จะค่อยๆ สว่างขึ้น คล้ายกับความสว่างของดวงอาทิตย์ในยามเช้า ตั้งแต่ตอนตี 5 เรื่อยไปจนถึงตอน เที่ยงวัน สว่างที่สุดก็คือตอนเที่ยงวัน แต่ภายในนั้น ความสว่างจะไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ใช่สว่างแค่เที่ยงวันเท่านั้น แต่จะสว่างแล้วสว่างอีก เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสว่างคล้ายกับเอาดวงอาทิตย์มาวางเรียงกันเต็ม ท้องฟ้า แล้วดูได้โดยไม่แสบตา นั่นคือ ความสว่างภายในที่มีการเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่เห็นภายนอก จะทึบ จะหยาบ แต่สิ่งที่เห็นภายในจะละเอียด ความละเอียดสังเกตจากความใส ตั้งแต่ ใสน้อย ไปสู่ความใสมาก ใสเหมือนน้ำใสๆ ใสเหมือนกระจกที่เราส่องหน้า ใสเหมือนน้ำแข็ง ใสเหมือนเพชร แล้วในที่สุด ก็จะใสยิ่งกว่าเพชร ความใสยิ่งกว่าเพชรก็คือความใสของดวงธรรม ของกายภายใน ซึ่งเกิด จากความบริสุทธิ์ เมื่อใจของเราหยุดนิ่งได้ถูกส่วน 5.1.2 ระดับของการเห็นด้วยใจ การเห็นด้วยใจจะมี 3 ระดับ คือ 1. ชัดน้อยกว่าลืมตาเห็น 2. ชัดเท่ากับลืมตาเห็น 3. ชัดมากกว่าลืมตาเห็นซึ่งเหมือนกับการเอาแว่นขยายที่มีกำลังมากๆ มาส่องดูวัตถุ ขยายได้มาก เท่าไรเราจะเห็นความชัดเจนของวัตถุได้มากเท่านั้น บทที่ 5 การเห็นกับความใจเย็น DOU 59
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More