ข้อความต้นฉบับในหน้า
อารมณ์สบาย คือ หยุดนิ่งต่อเนื่องเรื่อยๆ เป็นอารมณ์ที่เราพึงพอใจ เป็นอารมณ์ที่เราชอบ
และเราสามารถรักษาอารมณ์นี้ไปได้ สามารถทำต่อไปได้เรื่อยๆ โดยไม่เบื่อและยกเลิกกลางคัน
2) ลักษณะของความสบายกับการทำสมาธิ
คำว่า สบาย คือ เฉยๆ แรกๆ จะไม่สบายจริง แต่เมื่อภาวนา (สัมมาอะระหัง)ไปเรื่อยๆ จะเข้าถึง
ความสบายแท้จริงในภายหลัง
อารมณ์ที่สบาย คือ อารมณ์ที่พอเหมาะพอดี ไม่ตึงเกินไป โดยใช้กำลังของกล้ามเนื้อหรือกด
ลูกนัยน์ตาลง สบายอารมณ์ สบายเฉยๆ เป็นอารมณ์ที่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ถูกต้อง
ความสบายเป็นเทคนิคทางธรรมชาติ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเป็นความรู้สึกเหมือนกับการพักผ่อน
มีอารมณ์สดชื่นเมื่อได้อารมณ์สบายจะมีความรู้สึกว่า “เวลาหมดไปอย่างรวดเร็ว” มีความสุขกับการนั่ง
ลักษณะของความสบายที่ควบคู่กับการทำสมาธินั้นเป็นความสบายแบบอิสระหรือปล่อยวาง
อุปมา คล้ายกับการนำผ้าเนื้อโปร่งบางเบามาตัดเป็นวงกลม นำไปวางบนฐานไม้กลม เนื้อไม้ขัดจนเนียน เป็นมัน
เรียบ เย็นสบายฐานจะมีขนาดใหญ่กว่าหรือว่าเท่าๆ กันกับผ้าก็ได้ แล้วตอกตะปูขนาดเล็กที่สุดยึดตรงกึ่งกลาง
ผ้าแผ่นกลมนั้นไว้กับฐานเพียงจุดเดียว ผ้าเนื้อบางๆ ที่พลิ้วตัวเบาเป็นอิสระบนฐานกลมนั้น เปรียบได้กับ
ความสบาย ในขณะที่ตะปูตัวน้อยตรงกลาง เปรียบเหมือน ใจที่จรดนิ่งไว้กับกลาง ปล่อยผ้าให้เป็นอิสระสบาย
ให้ผ้าค่อยๆ สัมผัสความสบายของเนื้อไม้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งลมที่นาบลงผ้าได้จังหวะ ผ้าทั้งผืนก็จะแนบ
สนิทกับฐานไม้ได้เอง โดยไม่ต้องทากาว
เราอาจเปรียบอิสระภาพของผ้าเหมือนความสบายที่ไม่ติดยึดกับอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดี
หรือไม่ดี หรือเรื่องใดๆ ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามธรรมชาติ หน้าที่มีเพียงวางใจไว้กับกลาง สนใจแต่
กลาง โดยจะนึกให้เป็นดวงแก้ว ดวงดาว ดอกไม้ หรือองค์พระก็ได้ หายไปก็นึกใหม่โดยไม่มีอาการหงุดหงิด
รำคาญ เบื่อที่นึกดวงดาวก็เปลี่ยนมานึกดอกไม้ เมื่อดอกไม้อยากได้ความสงบก็เปลี่ยนมานึกองค์พระ
สลับไปสลับมาอย่างไรก็ได้แต่ต้องให้อยู่ตรงกลาง นึกอยู่ตรงกลางอย่างมั่นใจ
ส่วนความมั่นใจของผู้ที่ยังไม่ชำนาญในกลาง คือ การมั่นใจไปเลยว่า ที่นึกไว้ในท้องนั้นคือ ศูนย์กลาง
กาย เริ่มต้นเพียงขอให้สิ่งที่นึกอยู่ในท้องเท่านั้นเป็นใช้ได้ ไม่ต้องไปคาดคั้น แต่ต้องคะเนหรือต้องทำความ
เข้าใจก่อนว่าศูนย์กลางกายอยู่ที่ไหน ใหม่ๆ ของการฝึก จะรู้สึกเหมือนใจตันคล้ายฐานไม้กลมๆ ที่สมมติ
ข้างต้นไปก่อน
แต่ฝึกไปอย่างสบายๆ สักระยะ จะรู้สึกว่าช่องตะปูตัวเล็กที่ตอกไว้นั้นขยายได้ หรือราวกับว่า
หัวตะปูที่ตอกไว้ใสกลายเป็นแก้ว หรือในหลายๆ ท่าน ราวกับตะปูทั้งตัวคล้ายถูกถอนออกไป ความสนใจในผืน
ผ้าไม่มีอีก ช่องตะปูเดิมกลับกลายเป็นโพรงใสๆ ลึกลงไป บางทีช่องโพรงนั้นก็ขยายได้ บางทีก็เท่าเดิม
ฝึกไปๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรเลย ทำเพียงสนใจกับกลาง ทุกอย่างปล่อยให้เป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นไป
ตามอำนาจของผู้รู้ภายใน ไม่ช้าไม่นาน ช่องโพรงนั้น จะโล่งกว้างขยายออกไปจนรู้สึกได้
พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา 14 สิงหาคม 2533.
24 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย