ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 2
หลักสําคัญของการนั่งสมาธิ
ในการปฏิบัติสมาธิ สิ่งสำคัญที่จะนำใจไปสู่ฝั่งแห่งใจหยุด นั่นคือ สติกับสบาย ทั้ง 2 อย่างนี้จะต้องไป
คู่กัน ไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการอย่างไรก็ตาม จะปฏิบัติแบบไหนก็ตาม หลักก็มีอยู่ว่าจะต้องให้สติ
กับสบายไปคู่กัน เพราะทั้ง 2 ประการนี้ คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือ ใจหยุด แต่ถ้า
หากเรายังไม่สามารถทำ 2 ประการนี้ ควบคู่กันไปได้ เราก็จะยืดเวลาในการที่จะทำให้ใจของเราหยุดได้ยาก
มากขึ้นไปเพียงนั้น ดังนั้น ในบทเรียนนี้ เราจึงควรมาศึกษาเทคนิคการมีสติและความสบายให้ไปควบคู่กัน
2.1 สติคืออะไร
สติ คือ ความระลึกนึกได้ถึงความผิดชอบชั่วดี เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้คิดพูดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ทำให้ไม่ลืมตัว ไม่เผลอตัว ใช้ปัญญาพิจารณา ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้
ธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลาการนึกคิดนี้ถ้าไม่มีสติกำกับก็จะกลายเป็นความคิดฟุ้งซ่านไป
ตามอารมณ์ต่างๆ ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แต่ถ้ามีสติกำกับแล้ว จะทำให้ไม่เผลอ ควบคุมความนึกคิดได้
ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยไป ไม่ปล่อยอารมณ์ให้เป็นไปตามสิ่งที่มากระทบ
2.1.1 หน้าที่ของสติ
1. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความระมัดระวังตัว ป้องกันภัยที่จะมาถึงตัว คือ ระแวงในสิ่งที่ควรระแวง
และระวังป้องกันภัยที่จะมาถึงในอนาคต
2. สติเป็นเครื่องยับยั้ง เตือนไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม ไม่ให้มัวเมาลุ่มหลง ไม่ให้เพลิดเพลินไปในสิ่งที่
เป็นทุกข์เป็นโทษต่อตนเอง เช่น เพื่อนชวนไปดื่มเหล้า ก็มีสติยับยั้งตัวเองไว้ว่า อย่าไป เพราะเป็นโทษ
ต่อตัวเอง ฯลฯ
3. สติเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระ
ไม่เกียจคร้าน ป้องกันโรคนอนบิดติดเสื่อ งานการเบื่อทำไม่ไหว ข้าวปลากินได้อร่อยดี
4. สติเป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือ เมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดี แล้วก็ให้ทำอย่าง
เอาจริงเอาจัง ไม่อืดอาดยืดยาด ไม่ทำแบบเรื่อยๆ เฉื่อยๆ
5. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความสำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ ตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ
ตระหนักถึงสิ่งที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ
6. สติเป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่าใจว่าสิ่งนั้นๆ
เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร
20 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย