ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 4
เทคนิคการวางใจในขณะฟังธรรม
ในชีวิตประจำวันแต่ละวัน สำหรับผู้รักความเจริญก้าวหน้าในชีวิต พัฒนาชีวิตให้สูงส่งด้วยคุณธรรม
มักจะหาโอกาสฟังธรรมเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นธรรมะเพื่อการดำเนินชีวิต หรือเพื่อการทำสมาธิ การฟังธรรม
แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราอาจพบเห็นได้ทั่วไป แต่ในการฟังธรรมนั้นก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ
เพราะการฟังธรรมอาจจะทำให้เรามีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปได้ การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร และการฟังธรรม
ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นกับตัวเรา เราจะได้มาศึกษากันในบทเรียนต่อไป
4.1 ความสำคัญของการฟังธรรม
เราทราบกันดีแล้วว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ทุกคนประกอบด้วยจิตหรือใจสิงสถิตอยู่ในตัว
ของเรา และใจของเรานั้น แม้ไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาว่าใจมีลักษณะอย่างไร อยู่ตรงไหน แต่เราก็ทราบ
กระบวนการทำงานของใจที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ต่างๆ คิด จดจำ และรับรู้ไว้ ทั้งนี้ใจจะมีช่องทางติดต่อ
กับโลกภายนอกและทำหน้าที่ดังกล่าวได้ โดยผ่านทางช่องทาง 5 ช่องทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
อารมณ์หรือสิ่งที่ผ่านเข้ามาในช่องทางทั้งห้านี้ มีความสำคัญ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพ
จิตใจของมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะความสุข ความทุกข์ ดีใจ เสียใจ รวมไปถึงความคิด คำพูด และการกระทำ
โดยเฉพาะอารมณ์ที่ผ่านมาทางหูและตา
ในที่นี้เราจะขอพูดถึงอารมณ์ที่ผ่านมาทางหู เพราะหูเป็นเพียงอวัยวะเดียวในช่องทางทั้ง 5 ที่ไม่
สามารถจะสั่งให้ปิดกั้น หรือเลือกที่จะรับอะไรหรือไม่รับอะไร ต่างจากตาที่สามารถหลับได้ ถ้าได้พบอารมณ์ที่
ไม่พึงพอใจ จมูกก็สามารถกั้นไม่ให้ได้กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาได้ ลิ้นถ้ารู้ว่าไม่ดี ไม่อร่อยก็คายทิ้งได้ สัมผัสก็
สามารถเลือกที่จะสัมผัสสิ่งดีหรือไม่ดีได้ แต่หูต้องทนรับฟังสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี เสียงที่ผ่านมาทางหู
แล้วแปรเป็นการรับรู้จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้สามารถพัฒนาจิตใจของเราให้สูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้
และเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าการฟังในพระพุทธศาสนานั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับจิตใจของมนุษย์ได้
สูงสุดจนกระทั่งหมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ การฟังในที่นี้ ก็คือ การฟังธรรมนั่นเอง
ธรรมในที่นี้ หมายถึง สิ่งที่ดีงาม ตั้งแต่เรื่องคุณธรรม เรื่องของการทำความดี เรื่องที่ฟังแล้วทำให้
ใจสูงขึ้น การฟังธรรมจึงเป็นการฟังสิ่งที่ดีงาม เพื่อจะยกใจของผู้ฟังให้ดีขึ้นสูงขึ้น
1
พ.ท. ปิ่น มุทุกันต์, มงคลชีวิต ภาค 3, (กรุงเทพฯ: พับลิเคชั่น, 2519), หน้า 137.
44 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย