การทำสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย MD 204 สมาธิ 4  หน้า 47
หน้าที่ 47 / 106

สรุปเนื้อหา

การทำสมาธิเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงพระธรรมกาย โดยต้องหมั่นฝึกฝนและตั้งใจให้เห็นคุณค่าของการทำสมาธิ แม้ในช่วงแรกอาจจะต้องใช้ความพยายาม แต่เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอ จิตใจจะละเอียดลึกซึ้งขึ้น และสามารถลดละจากกิเลสได้อย่างมีประสิทธิภาพตามคำสอนของพระพุทธองค์.

หัวข้อประเด็น

- การทำสมาธิเบื้องต้น
- ความสำคัญของการฝึกปรือ
- ข้อควรระวังในการทำสมาธิ
- ตัวอย่างจากพระพุทธศาสนา
- เทคนิคการเข้าถึงพระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอันใดก็ตาม อย่าให้สิ่งนั้นมาเป็นข้ออ้าง เป็นข้อแม้เงื่อนไขที่เราจะปฏิเสธใน การนั่งสมาธิ” และเป็นธรรมดาที่การตรึกนึกถึงดวงแก้ว องค์พระ หรือการนำใจมาวางไว้ที่ศูนย์กลางกาย อาจ จะเป็นเรื่องยาก ใหม่ๆ เราอาจจะต้องฝืนหน่อย เพราะไม่เคยชิน แต่ถ้าเราฝึกบ่อยๆ ก็จะคุ้นเคย และก็ชิน ในที่สุด ดังนั้น ในช่วงแรกๆ เราจะต้องพยายามฝึก เตือนตนเสมอๆ ให้เห็นคุณค่าของสมาธิและฝึกไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ในการทำสมาธิ หลายท่านกังวล ไม่ควรทำตลอดเวลา เพราะบางอิริยาบถไม่เหมาะสม การนึกถึงสิ่งที่เป็นกุศลจะเป็นบาปกรรม เช่น ทำสมาธิในห้องน้ำ สิ่งนี้พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ แนะนำว่า ไม่ใช่บาปกรรม เป็นที่ตั้งแห่งกุศล ใจต้องอยู่ตรงนี้แม้ปัสสาวะหรืออุจจาระ 3.2.4 ภาวนาสูตร ความต่อเนื่องจะเป็นอุปการะในการเข้าถึงธรรม แม้ในบางครั้งอาจจะดูเหมือนว่า ประสบการณ์ ภายในไม่ก้าวหน้า แต่ทุกครั้งที่เราได้ทำสมาธิ ใจของเราก็ละเอียดลึกซึ้งไปเป็นลำดับๆ ดังพระสูตร ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงปรารถนาขอให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะก็จริง แต่จิตก็ไม่หลุดพ้นได้ เหมือนแม่ไก่มีไข่ 8 ฟอง 10 ฟอง 12 ฟอง เมื่อแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความ อบอุ่นไม่เพียงพอ ฟักก็ไม่ดี แม้แม่ไก่จะปรารถนาให้ลูกเจาะกระเปาะไข่ออกมาก็ทำไม่ได้ เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้ไม่พึงเกิดความปรารถนาขอให้จิตหลุดพ้นก็จริง แต่จิตก็หลุดพ้น เหมือนแม่ไก่มีไข่ 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง เมื่อแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่ จะไม่ปรารถนาให้ลูกเจาะกระเปาะไข่ออกมา ลูกไก่ก็ออกมาโดยสวัสดี เหมือนรอยนิ้วมือที่ด้ามมีดย่อมเกิดแก่นายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่าวันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่า นี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้ เมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ แต่ที่จริงเมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไป เหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะ แล้วแล่นไปตลอด 6 เดือน ถึงฤดูหนาวเข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือ ตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนซะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไป โดยไม่ยาก ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมระงับไปโดยไม่ยาก ฉันนั้น”1 จากพระสูตรนี้จะเห็นได้ว่า การไม่ประกอบเหตุ แม้ปรารถนาก็ไม่สมหวัง ดังคำของพระเดชพระคุณ พระภาวนาวิริยคุณ ว่า “ความอยากอย่างหนึ่ง ความสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง” ในที่นี้หมายถึง หากบุคคลใดต้องการ 1 อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 68 หน้า 252. 38 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More