เทคนิคการฝึกใจเย็นในสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย MD 204 สมาธิ 4  หน้า 75
หน้าที่ 75 / 106

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงประสบการณ์การนั่งสมาธิของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่พบว่าการมีใจเย็นเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าถึงความสุขภายใน การทำสมาธิโดยไม่มีความใจร้อนและการทำเพียงเฉยๆ ทำให้เกิดการเห็นดวงธรรมที่ชัดเจน ในกระบวนการนั่งสมาธิ การทำใจเย็นทำให้เราสามารถบรรลุถึงผลลัพธ์ที่ดีและ การเข้าถึงธรรมะภายในก็จะเกิดขึ้นได้ พูดถึงการตั้งใจในการปฏิบัติและการละความคาดหวัง การพัฒนาจิตใจให้สงบเพื่อให้สามารถเห็นภาพภายในที่ถูกต้องได้อย่างเต็มที่ และส่งผลเชิงบวกต่อการปฏิบัติธรรมในครั้งต่อไป เรียนรู้จากความเห็นผิดและการไม่ยึดติดกับผลลัพธ์เพื่อพัฒนาตนเองในทางธรรมอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การฝึกใจเย็น
-การนั่งสมาธิ
-การเห็นภาพภายใน
-การเข้าถึงความสุขภายใน
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.2.4 ตัวอย่างความใจเย็น พระราชภาวนาวิสุทธิ์เล่าว่า ท่านนั่งช่วงแรกไม่ได้ผล จึงคิดว่า นั่งไม่เห็นเห็นอะไรเลย บุญคงน้อย จึงไม่เห็น ท่านได้รำพึงรำพันให้คุณยายฟัง จนกระทั่งหมดอารมณ์รำพึงแล้ว คุณยายก็บอกว่า “คุณต้อง ทำใจเย็นๆ ถ้าใจเย็นเดี่ยวจะเห็นภาพ พอท่านบอกอย่างนั้น ท่านก็ไปลองทำใจเย็น แต่ก็เย็นได้ประเดี๋ยว เดียว เพราะมันยังอยากเห็นอยู่ก็ไปบ่นให้คุณยายฟังอีก ท่านก็บอกว่ามันก็เป็นทางเดียวที่จะเห็น เพราะมันเป็น อย่างนั้น คุณก็ทำได้อย่างเดียว คือคุณต้องใจเย็น ถ้าคุณรักที่จะเข้าถึงความสุขภายใน รักที่จะฝึกใจให้หยุดนิ่ง ให้ได้เหมือนอย่างยาย รักที่จะเข้าถึงกายธรรม รักที่จะศึกษาวิชชาธรรมกาย รักที่อยากจะหลุดพ้น คุณต้อง ใจเย็นๆ มันมีวิธีเดียว คุณไปทำมาเถอะ” ท่านก็กลับมาก็มานั่งทำใจเย็น มันก็ค่อยๆ ลดลง ไม่ได้เย็นฮวบฮาบ มันเย็นตอนที่ปลงตก คือเรา ไปทำวิธีด้วยใจร้อนๆ แล้วมันไม่เคยได้ผลเลย ทำไปกลุ้มไป ปวดหัวไป บ่นไป รำพึงรำพันไป น้อยใจไป ก็วนๆ อยู่อย่างนั้น ไม่เคยที่มีประสบการณ์ใหม่ๆ เลย ไม่มีความสุขเลยจากการนั่ง จนกระทั่งมีความเห็น ผิดเกิดขึ้นเลยว่า ที่คนอื่นเค้าเห็น เห็นจริงรึเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ทำไมเราก็นั่งหลับตาเหมือนเขาทำไม มันไม่เห็น เขาพูดส่งเดชรึเปล่าก็ไม่รู้ มันเกิดความเห็นผิดเข้า ในที่สุดก็มารำพึงให้คุณยายฟัง ท่านก็พูด คำเดิมอีกนั่นแหละว่า คุณ คุณต้องใจเย็นๆ เพราะการเห็นภายในนั้นมันแตกต่างจากภายนอก ภาพมัน จะค่อยๆ เกิด ค่อยๆ เห็น ค่อยๆ เป็น คุณต้องใจเย็นๆ ทำให้อารมณ์ดีสิ อารมณ์สบาย นั่งธรรมะ เรามาแสวงหาอารมณ์ดีอารมณ์สบาย ไม่ใช่มานั่งแบบโมโหโทโสฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์อะไรอย่างนั้น มันผิดวิธี” ท่านได้เล่าต่อว่า ในที่สุดก็นั่งกันไปอย่างนั้น เชื่อคุณยายท่านมั่งไม่เชื่อมั่งแต่ก็เคารพท่าน ก็นั่งกัน ไปจนกระทั่งทำด้วยวิธีการที่เราทำแล้วไม่ได้ผล มีอยู่วันหนึ่งได้นั่งเฉยๆ ไม่เอาอะไรทั้งสิ้น ดวงก็ไม่เอา องค์พระก็ไม่เอา เพราะไปเค้นภาพแล้วมันไม่เกิด นั่งเฉยๆ ตอนแรกๆ ก็ภาวนาสัมมาอะระหังไปเรื่อยๆ ตอนหลังก็ขี้เกียจภาวนาก็นั่งเฉยๆ ตอนแรกมันก็ฟังมาก แล้วก็ฟังน้อย อยู่ๆ ไปมันอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ฟุ้ง ใจนิ่งเฉย นิ่งของมันไปเอง นิ่ง ตอนนี้ตัวโล่ง ขนลุกซู่เลย ตัวโล่ง ตัวโปร่งเบาสบาย ก็ทำเฉยๆ อย่างนั้น เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็เฉยๆ ทำเป็นไม่สนใจ พอทำเป็น ไม่สนใจ แปลกทีเดียว ของภายในเนี่ยพอทำเป็นสนใจแล้วไม่เกิด พอทำเป็นไม่สนใจคราวนี้เกิดเลย โล่ง โปร่ง เบาสบาย แสงสว่างเกิดล่ะตอนนี้ ดีใจจนเนื้อเต้นทีเดียว เห็นแสงสว่างแล้ว โอ้แสงสว่างอะไรมันเกิดภายในได้ มันไม่ใช่ภายในท้อง มันภายในที่โล่งๆ ว่างๆ เกิดสว่างแล้วมันก็สว่างเพิ่มขึ้นไปได้เรื่อยๆ ก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็ทำเฉยๆ ไปเรื่อยๆ มันก็วูบเข้าไปเห็นดวงธรรมเลย แล้วก็เห็นองค์พระ จะเห็นได้ว่า การเห็นภาพภายในกับความใจเย็น เป็นเทคนิควิธีในการปฏิบัติสมาธิที่เราควรหมั่น ตรวจตรา และทำให้ได้ทุกครั้งในขณะที่นั่งสมาธิ เพราะถ้าเราทำได้แล้ว นอกจากจากจะทำให้เราได้รับความสุข จากการนั่งสมาธิเป็นรางวัล ยังจะส่งผลถึงการเข้าถึงธรรมะภายในได้ในที่สุด - พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 6 พฤศจิกายน 2538. 66 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More