การประคับประคองและพัฒนาประสบการณ์ภายในในการปฏิบัติสมาธิ MD 204 สมาธิ 4  หน้า 89
หน้าที่ 89 / 106

สรุปเนื้อหา

การเห็นประสบการณ์ภายในที่พิสดารต้องมีการแก้ไขด้วยการนำใจมาที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว เพื่อรักษาประสบการณ์นั้นให้อยู่ต่อเนื่องและเพิ่มพูนอย่างมีศิลปะ มีการชี้แจงถึงเทคนิคการนั่งสมาธิ การวางใจ และการมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะทำสมาธิสะอาดและชัดเจน แนวทางการปฏิบัติในที่นี้สามารถปรึกษาครูบาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญได้

หัวข้อประเด็น

-การประคับประคองประสบการณ์ภายใน
-เทคนิคการนั่งสมาธิ
-การมีศิลปะในสมาธิ
-การมีความเชื่อมั่นในตนเอง
-การพัฒนาประสบการณ์ภายใน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การเห็นประสบการณ์ภายในที่พิสดารเช่นนี้ ต้องพยายามแก้ไขด้วยการไม่สนใจในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ให้ นำใจมาไว้ ณ ศูนย์กลางกายอย่างเดียว ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ ควรปรึกษาครูบาอาจารย์ ที่มีความชำนาญใน การปฏิบัติสมาธิ เพื่อขอแนวทางแก้ไข 6.4 การประคับประคองและพัฒนาประสบการณ์ภายใน สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้การปฏิบัติสมาธิได้ผล ผู้ฝึกจะต้องพยายามรักษาประสบการณ์ภายใน ที่เกิดนั้นให้ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาที่ยิ่งๆ ขึ้นไป หรืออย่างน้อย ก็จะไม่ได้ต้องกลับไป เริ่มต้นใหม่ ในที่นี้จึงได้นำเทคนิคในการประคับประคอง และการพัฒนาประสบการณ์ภายในมาอธิบาย ดังต่อไปนี้ 6.4.1 การประคับประคองประสบการณ์ภายใน 1) เวลานั่งให้นั่งอย่างมีศิลปะ ศิลปะก็คือการรู้จักทำ รู้จักใช้ เหมือนอย่างแม่ครัว ผู้มีศิลปะในการ ปรุงอาหารที่รู้จักปรุงอาหารให้น่าเคี้ยวน่ากิน ใจของเราก็เช่นเดียวกัน ควรปรับปรุงให้ศูนย์กลางกาย ยอมรับ โดยให้ใจป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายก็จะคุ้นเคยและยอมรับใจของเราได้ อย่ากังวลว่าเราจะต้องเห็นความสว่าง ดวงแก้ว หรือองค์พระ แม้ว่าเราต้องการเห็นก็ตาม 2) เมื่อเห็นทางเดินให้ส่งใจไปก่อน เมื่อจะเข้ากลางต้องเข้าสบายๆ ถ้าเร่งจะเหนื่อย เพราะเป็น การบีบลมหายใจ การตกวูบของใจต้องให้มีสติประกอบ มิฉะนั้นใจจะหลุดจากนิมิตได้ ควรเชื่อมั่นในสิ่งที่ดี ความเชื่อมั่นจะสร้างพลังความคิด ทำพลังงานให้มีตัวตน เช่นเราเห็นดวง เห็นนิมิตเป็นแสงๆ ถ้าคิดว่า ไม่ใช่สิ่งนั้นจะเลือน แต่ถ้าคิดว่าถึงอย่างไรก็เป็นของเราและทำให้เรามีความสุข ตรงกับที่พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ธรรมะทำให้เกิดสุข ถ้าเราสั่งสมความเชื่อมั่นไปเรื่อยๆ เพียงนึกอย่างเดียวก็มีตัวตน ชีวิตจิตใจ ถูกต้อง สัมผัสได้ ความเชื่อมั่นเป็นผลดีอย่างยิ่ง” 3) เวลาเห็นองค์พระภายใน “อย่าไปขัดใจท่านนะ ตามใจท่าน ดูอย่างสบายๆ อีกหน่อยท่านจะ ตามใจเรา ดูอย่างนี้ไปก่อน หลวงพ่อทำมาแล้ว ก็ดูไปมันก็ขัดใจเหมือนกัน เพราะเราอยากเห็นพระสวยๆ ได้ลักษณะมหาบุรุษใสเป็นเพชร ไม่มีให้ดูหรอก บางทีก็ไม่เต็มองค์ เศียรมามั่ง ขามั่ง มือมั่ง ก็อย่าไป ขัดใจท่าน ใหม่ๆ เราไปเจ้ากี้เจ้าการขัดใจท่านก็ไม่ได้ผล” 4) “เพราะฉะนั้นทุกประสบการณ์ ใจต้องนิ่ง ไม่กระเพื่อมเลย ต้องนิ่งเหมือนเราเอาน้ำใส่แก้ว เต็มเปี่ยมเลย จะเดินบนซุปเปอร์ไฮเวย์ ก็ไม่กระฉอก ตกหลุม ตกห้วย ตกเหว ขึ้นเขาไม่กระฉอกเลย อย่างนั้นแหละ ให้ทำอย่างนี้แหละ ประเดี๋ยวจะชัดใสแจ่ม สว่างทีเดียวอยู่ในกลางตัว” 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 9 กรกฎาคม 2540. พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 9 กรกฎาคม 2540. 80 DOU สมาธิ 4เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More