วิริยะ: ความกล้าหาญและความพากเพียรในการทำงาน MD 204 สมาธิ 4  หน้า 16
หน้าที่ 16 / 106

สรุปเนื้อหา

วิริยะหมายถึงความกล้าที่จะเผชิญกับอุปสรรค และเป็นคุณสมบัติสำคัญในการทำงานและการปฏิบัติสมาธิ การมีวิริยะช่วยให้เราขยันหมั่นเพียร ในการทำงานหรือการทำสมาธิ ถึงแม้จะพบกับความเกียจคร้านและความเฉื่อยชา การพยายามไม่ยอมแพ้ จะช่วยให้เราไปถึงความสำเร็จในที่สุด พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้ให้คำจำกัดความวิริยะว่า 'บากบั่น' และเน้นถึงความสำคัญของการฝึกในการทำสมาธิอย่างต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงเวลา นอกจากนี้ วิริยะยังแบ่งระดับได้เป็น 3 ระดับ ซึ่งช่วยให้เข้าใจแนวทางการพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น การพยายามและความตั้งใจจะนำไปสู่การสำเร็จที่ไม่คาดคิดได้

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของวิริยะ
-ความสำคัญของวิริยะ
-วิริยะในการทำสมาธิ
-วิริยะ 3 ระดับ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1.2 วิริยะ วิริยะ' โดยคำศัพท์แล้วมาจากคำว่า วีระ แปลว่า กล้า ก็คือ มีความกล้าที่จะผจญกับอุปสรรค ทุกชนิด เห็นอุปสรรคแล้ว มีความรู้สึกเหมือนทารกเห็นขนม หรือเห็นอุปสรรคต่างๆ แล้วมีความ รู้สึกเหมือนทารกเห็นไอศกรีม เห็นช็อคโกแลต เห็นแล้วก็อยากจะกิน อยากจะลิ้มลอง อยากจะพิสูจน์ วิริยะเมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว จะทำให้มีความขยันหมั่นเพียรและความพากเพียรบากบั่นในการทำงานนั้นๆ ไม่ยอมแพ้ต่อความเกียจคร้าน ความขี้เกียจ ความเฉื่อยชา ซึมเซา คือบางทีขี้เกียจ อยากจะพัก อยากจะ นอน อยากจะเล่น แต่ก็ไม่ยอมแพ้ต่อความอยากเหล่านั้น ไม่ขี้เกียจแข็งใจสู้ ต้องทำไปไม่ยอมแพ้ นี่คือ วิริยะ วิริยะมีความสำคัญต่อการทำงานทางใจ คือ จะให้สำเร็จได้ต้องมีวิริยะความพากเพียร นั่งนึก อย่างเดียว ไม่สําเร็จ ต้องลงมือทำถึงจะสำเร็จ ถ้าคิดแล้วไม่ทำก็เป็นการสร้างวิมานในอากาศ คิดแล้วต้อง ทำงานทางใจ ถึงจะสำเร็จได้ ถ้าเรามีวิริยะความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นอย่างเราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว 1.2.1 วิริยะในการปฏิบัติสมาธิ วิริยะในการทำสมาธินั้น พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีท่านให้คำจำกัดความไว้ว่า “บากบั่น” ท่านได้ขยายความไว้ว่า “ต้องบากบั่นพากเพียรเอาจริงเอาจัง” พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ขยายความวิริยะไว้ว่า “ขยันนั่งขยันทำใจหยุดนิ่ง ไม่ว่ามีเวลาซัก 1 หรือ 2 นาทีก็ฝึกไปเรื่อย ทำยังไงจะปล้ำใจ ให้มันหยุดนิ่งอยู่ภายใน ไม่ว่าจะมีเวลา 1 นาที 2 นาที 5 นาที 10 นาที ในรถในเรือ ที่ไหนก็แล้วแต่ บนเครื่องบิน ห้องน้ำห้องท่า ทำหมดฝึกไปเรื่อยๆ ฝึกตั้งแต่ยังนุ่มๆ ค่ำๆ นึกอะไรไม่ออก ใจยังฟุ้งซ่านอยู่ ก็จะค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ นี่ความขยันมาแล้ว พอความขยันมาใจก็จรดจ่อ ขบวนที่ 3 ก็ตามมา” 1.2.2 วิริยะ 3 ระดับ เราสามารถจัดแบ่งวิริยะได้เป็น 3 ระดับดังนี้ คือ วิริยะระดับเบื้องต้น คือ การเริ่มต้นทำสมาธิตั้งแต่เริ่มนั่งบ้างไม่นั่งบ้าง แต่ก็เริ่มต้นด้วย *พระภาวนาวิริยคุณ, พระธรรมเทศนา, 1 กรกฎาคม พ.ศ.2541. 2 มรดกธรรม กัณฑ์ที่ 2 หน้า 64. * พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 3 ตุลาคม 2536. บ บทที่ 1 อิ ท ธิ บ า ท 4 DOU 7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More