การฟังธรรมในพระพุทธศาสนา MD 204 สมาธิ 4  หน้า 54
หน้าที่ 54 / 106

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการฟังธรรมในพระพุทธศาสนา โดยระบุว่าการฟังธรรมไม่เพียงแค่การรับฟังคำพูด แต่ยังเป็นการซึมซับความรู้และความสงบ การฟังธรรมจึงช่วยให้ผู้ฟังพัฒนาคุณภาพชีวิตและบรรลุธรรม ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา การฟังธรรมยังเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การบรรลุธรรม การสร้างบุญของผู้ที่มีศรัทธา และการได้รับความรู้จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก การมีบุญในตัวก็ไม่เพียงพอหากขาดการฟังธรรมและการมีมิตรดี เช่นเดียวกับการมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์และฟังพระธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงคุณค่าของการมีธรรมะอย่างต่อเนื่องที่ช่วยขัดเกลาจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ฟังธรรม
-พุทธศาสนา
-การพัฒนาชีวิต
-ศรัทธา
-อรหันตสาวก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

และการฟังธรรมนั้นไม่ใช่เพียงรับคำพูดของผู้แสดงธรรม แต่ยังเป็นการซึมซับเอาความสงบ ความรู้ แจ้งที่ถ่ายทอดผ่านกระแสเสียงอันทรงธรรมมาก่อกุศลจิตในปัจจุบัน ทำนองเดียวกับคนในโลกชอบฟังดนตรี ที่ตนโปรดไม่อิ่มไม่เบื่อ ผู้ปรารถนาธรรมย่อมชอบฟังธรรมจากผู้ทรงคุณบ่อยๆ มิรู้หน่ายเช่นกัน แม้จะฟัง ซ้ำแล้วสักกี่รอบก็ตามที ในสมัยพุทธกาลมีผู้แสดงธรรมได้อย่างยอดเยี่ยมอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ทรงแสดง ธรรมจบ จะมีผู้บรรลุธรรมขั้นต่างๆ เป็นจำนวนมาก เราจึงคุ้นเคยกับคำว่า พุทธสาวก พุทธสาวิกา อรหันต สาวก คำว่า สาวก นี้ล้วนเป็นคำที่บ่งถึง ผู้ฟัง นั่นคือ บุคคลเหล่านั้นล้วนอาศัยการฟังธรรม จึงได้บรรลุ ธรรมตามพระพุทธเจ้าไป ดังนั้น การฟังธรรม จึงถือเป็นสิ่งสำคัญของบุคคลที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งการฝึกฝนขัดเกลาแก้ไขนิสัยในตัวเอง และในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรม ในพระไตรปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า การที่ชนทั้งหลาย มีท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้ซึ่งมีศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ได้สร้างบุญในพระศาสนามากมาย ที่ได้ทำบุญเช่นนั้น ก็เพราะได้ฟังธรรม ถ้าไม่ได้ฟัง ก็ หาทำได้ไม่ ท่านได้อธิบายว่า ถ้าว่ามนุษย์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรม เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่ง บ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง นอกจากนี้ เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย แม้พระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเป็นต้น ผู้ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถนับหยาดน้ำได้ ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น โดยธรรมดาของตนได้ ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิเถระเป็นต้น แสดงแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และทำให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณ ด้วยพระธรรมเทศนาของ พระศาสดา นั่นคือ แม้ว่าบุคคลนั้นจะมีบุญในตัวมากพอที่จะบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าหากยังขาดกัลยาณมิตรอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระสาวกคอยชี้แนะ ก็จะไม่สามารถบรรลุธรรมได้ นอกจากนี้ การฟังธรรม ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากสำหรับมนุษย์ มีพุทธพจน์ได้กล่าวไว้ว่า “กิจโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจนํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจนํ มจฺจานชีวิต กิจโฉ พุทฺธานมฺปทาโท” “ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก 3 เป็นปัญญาประเภทภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา 2 ขุททกนิกาย ธรรมบท, มก. เล่ม 43 หน้า 326-327. ขุททกนิกาย ธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 329. บทที่ 4 เทคนิคการวางใจ ในขณะฟังธรรม DOU 45
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More