ข้อความต้นฉบับในหน้า
หินนั้นก็แตกจริงๆ และทุกคนก็รอดตายเพราะน้ำนั้น เราจะเห็นว่า จิตตะนั้นเป็นตัวทำให้เกิดความเพียรมี
ความสม่ำเสมอในการทำการงาน ความเพียรที่สม่ำเสมอ มีความสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลง ให้หลายสิ่ง
หลายอย่างเป็นไปอย่างที่หวังได้
1.3.1 จิตตะในแนวการปฏิบัติสมาธิ
จิตตะนั้นพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้ให้" ความหมายโดยสรุปไว้คือ “วิจารณ์” ท่านได้ขยาย
ความว่า “วิจารณ์ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด” คือต้องตรวจดู
การปฏิบัติ ทำตามคำที่ครูสอน ครูสอนไว้อย่างไร ก็ดำเนินตามแนวนั้นไม่ปฏิบัติผิดจากกัน
พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ขยายเพิ่มขึ้นอีกว่า
“ถ้ามีจิตตะ ใจจะจรดจดจ่ออยู่ที่กลางกาย อยู่ที่กลางของความสบาย อยู่ที่ใจหยุดใจนิ่ง”
1.3.2 วิธีการสร้างจิตตะ
จิตตะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบรรยากาศรอบตัวเป็นส่วนช่วย ลองสังเกตดู ถ้าเรามาวัด ก็เป็น
บรรยากาศของการปฏิบัติธรรม การนั่งสมาธิการฟังเทศน์ สิ่งนี้ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะบรรยากาศ
ทุกอย่างเอื้อให้นึกถึงเรื่องบุญ เรื่องธรรมะ เรื่องบุญเรื่องกุศล แต่ถ้าใครไปชายทะเล บรรยากาศ
ความรู้สึก ก็จะไปอีกแบบ ใจก็จะคิดไปอีกเรื่อง ฉะนั้น บรรยากาศรอบตัวจะมีผลต่อความรู้สึกนึกคิด
ของตัวเราเอง
เพราะฉะนั้นในการสร้างจิตตะ ถ้าเราต้องการจะทำสิ่งใด ต้องสร้างบรรยากาศรอบตัวให้เอื้อต่อ
สิ่งนั้น เช่น จะนั่งสมาธิ ก็ต้องสร้างบรรยากาศการปฏิบัติธรรม จัดสถานที่ให้อำนวยต่อการปฏิบัติ
พูดคุยกันเรื่องธรรมะ และสิ่งสำคัญประการหนึ่งของบรรยากาศ ก็คือ บรรยากาศพื้นฐานให้ใจสบาย
ใจสงบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการทำกิจกรรมทางโลกทุกอย่าง ก็ต้องเริ่มจากการรักษาความสะอาด
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย อย่ามองเป็นเรื่องเล็กน้อยว่าการรักษาความสะอาดไม่เห็นจะมีอะไร ความสะอาด
สำคัญมาก เพราะสิ่งที่เราเห็น จะส่งผลต่อตัวเราทั้งความคิด คำพูด และการกระทำได้
1.4 วิมังสา
วิมังสา แปลว่า ความตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ หมายความว่า ใช้ปัญญาสอดส่องเทียบ
เคียงเปรียบเทียบ ทั้งเหตุ ทั้งผลในความดีต่างๆ ที่ตนกระทำแล้ว คือ ย้อนกลับไปดูว่าตนได้ทำเหตุปลูกฉันทะ
2
1 มรดกธรรม กัณฑ์ที่ 2 หน้า 64
พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 3 ตุลาคม 2536.
* คณาจารย์โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, แบบประกอบนักธรรมตรี อธิบายธรรมวิภาค ปริเฉทที่ 1, ( กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,
2536 ),หน้า 95-96.
บทที่ 1 อิ ท ธิ บ า ท 4 DOU 11