ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.3.2 ทำไมเสียงของผู้นำจึงจำเป็น
ในกรณีที่ผู้ทำสมาธิเป็นผู้ฝึกใหม่ เป็นนักเรียนที่ยังไม่ชำนาญ แม้ได้ฟังแนวทางการปฏิบัติแล้ว
แต่หากต้องคิดน้อมนำด้วยตัวเอง คิดกุศโลบายในการชักชวนใจไปวาง ณ ที่ตั้ง คือ ศูนย์กลางกายฐาน
ที่เจ็ดเอง ความคิดทั้งหลายเหล่านั้นจะกลายเป็นเชือกที่คอยดึงใจออกจากที่ตั้ง อีกทั้งจะกลายเป็นการใช้
สมองในการทำสมาธิ เพราะมักมีบ่อยครั้งที่ผู้ปฏิบัติใหม่ มักใช้ความคิด เมื่อใช้ความคิดมากๆ เข้า จะกลาย
เป็นความพยายาม กลายเป็นการกดใจ บังคับใจ ทำให้ใจยิ่งเหนื่อยล้า แทนที่จะได้พักผ่อนกลับกลาย
เป็นได้ความเหนื่อย ได้ความปวดศีรษะ ได้ความมึนงงมาแทน ซึ่งนั่นผิดวิธี ผิดวัตถุประสงค์ เพราะใจ
เท่านั้น ที่เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติสมาธิภาวนา
การนำนั่งสมาธิจึงเป็นการทบทวน แนวการปฏิบัติที่ถูกต้องให้แก่ผู้เริ่มปฏิบัติ ให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
มากขึ้น ให้ผู้ปฏิบัติดำเนินตามแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องหลักวิชชา
เมื่อผู้เริ่มทำสมาธิ เริ่มทำตามไปเรื่อยๆ ในที่สุดใจจะเกิดความคุ้นชินกับศูนย์กลางกาย คุ้นชินกับ
การวางอารมณ์นุ่มๆ สบายๆ ณ จุดนั้น ทำให้นำใจไปวางไว้ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดได้โดยไม่รู้ตัว
คือ เป็นไปเองอย่างเป็นธรรมชาติ ได้รับทั้งความสงบ ความนิ่งและนุ่มนวลเบาสบายไปในขณะเดียวกัน
ซึ่งกว่าจะรู้ตัว ก็ทำได้ไปเสียแล้ว
อีกเพราะโดยปกติสำหรับผู้ที่ยังกำลังฝึกตนหรือผู้ฝึกใหม่ ใจย่อมฝักใฝ่แต่จะออกนอกตัว หูได้ยิน
อะไรก็จะปล่อยใจให้ไปตามเสียงนั้นๆ เพราะยังประคองใจของตนเองไม่ได้ ทั้งมีความเคยชินที่จะปล่อยใจ
ไปตามเสียงอยู่แล้วซึ่งถือเป็นสิ่งปกติของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อมีเสียงหนึ่งมาน้อมนำขณะหลับตาใจของผู้ฝึกใหม่
จึงยินดีและเต็มใจที่จะคล้อยไปตามเสียงนั้น คือ ทำตามเสียงนำนั้นไปโดยดุษฎี เป็นเหตุให้ผลของปฏิบัติ
แม้ไม่เกิดผลดีมากโดยฉับพลัน แต่ก็สามารถทำให้เกิดความสงบ เกิดความสบายได้โดยง่าย ทำให้เวลาของ
การหลับตาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ผ่านไปอย่างสบายๆ ไม่อึดอัด และไม่เป็นการบังคับเคร่งเครียดกับตนเอง
จนเกินไป และพลอยทำให้เกิดความรัก ความพอใจที่จะปฏิบัติธรรม
4.3.3 เทคนิคของการปล่อยใจตามเสียงผู้นำสมาธิภาวนา
อันดับแรกคือต้องหาที่นั่งอันสมควร สัปปายะที่สุด คือ สบายที่สุดเท่าที่จะหาได้ ทำอารมณ์
ทำร่างกายให้พร้อมที่จะปฏิบัติสมาธิภาวนา ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในชุดวิชานี้ เปิดเสียงให้พอสบาย ไม่ดัง
เกินไป ไม่ค่อยเกินไป เพราะถ้าดังไปจะทำให้เกิดความไม่สบายหู ถ้าค่อยไปทำให้ต้องเงี่ยหูฟัง ไม่เกิด
ความสบายและทำให้การได้ยินไม่ต่อเนื่อง
ดังต่อไปนี้
เมื่อทรุดตัวลงนั่ง หลับตาแล้ว สิ่งที่พึงกระทำ คือ การปล่อยใจตามเสียงของผู้นำ ซึ่งมีเทคนิค
52 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย