การเห็นกับความใจเย็น MD 204 สมาธิ 4  หน้า 67
หน้าที่ 67 / 106

สรุปเนื้อหา

บทนี้สำรวจการเห็นและความใจเย็นโดยเน้นว่าการเห็นภาพภายในมีความสำคัญสำหรับนักปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติมักประสบปัญหาในเรื่องการเห็นภาพนิมิตซึ่งอาจทำให้เกิดความตึงเครียดหากไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง แยกแยะระหว่างการเห็นด้วยตากับการเห็นด้วยใจ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความชัดเจนในประสบการณ์การปฏิบัติและเข้าใจว่าการเห็นภายในต้องใช้เวลาและความใจเย็น ปราศจากความเร่งรีบจะช่วยให้ผลการปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การเห็นภาพภายใน
-ความแตกต่างระหว่างการเห็นด้วยตาและใจ
-ความสำคัญของความใจเย็นในการปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 5 การเห็นกับความใจเย็น การเห็นและความใจเย็นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะหลายๆ ท่านไม่ยอมพยายาม ทำให้ความเข้าใจในเรื่องของการเห็น หรือมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการเห็น โดยเฉพาะในการปฏิบัติ ตามที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้แนะนำให้ใช้การนึกนิมิต ส่งผลให้ประสบปัญหาในเรื่อง การเห็นภาพภายใน อีกทั้งในเรื่องของการปฏิบัติ นักปฏิบัติมักจะคาดคิดเสมอในเรื่องของเวลากับ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเหมือนกับการทำงานในทางโลก คือ ยิ่งเร่งทำ ใช้กำลังมากเท่าไร ผลก็ยิ่งต้อง มากขึ้น ซึ่งความเข้าใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องนักในเรื่องของการปฏิบัติธรรม ในบทเรียนนี้เราจึงจะ ได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการเห็น และความใจเย็นว่าเป็นอย่างไร 5.1 การเห็นภาพภายใน 5.1.1 การเห็นด้วยตากับการเห็นด้วยใจ ในการปฏิบัติสมาธิที่ใช้การนึกนิมิต ผู้ปฏิบัติมักประสบปัญหาเกี่ยวกับการเห็นภาพนิมิต มีความ เข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องเห็น ทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า และในบางครั้งอาจทำให้ผู้ปฏิบัติธรรม เกิดความตึงเครียด และเกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติธรรมตามมา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมาเรียนรู้ เกี่ยวกับเรื่องการเห็นด้วยตา และการเห็นด้วยใจ 1) สิ่งที่คล้ายกัน การเห็นด้วยตากับการเห็นด้วยใจ มีสิ่งที่คล้ายกัน ก็คือ จะต้องมีแสงสว่างเกิดขึ้น อย่างเช่น เราเห็นวัตถุภายนอกได้ ก็เพราะว่ามีแสงสว่างเกิดขึ้น จะเป็นแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ แสงดาว หรือแสงที่ มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นก็ตาม เมื่อมีแสงขึ้น แล้วเราจึงเห็นภาพนั้น เห็นคน เห็นสัตว์ เห็นสิ่งของ การเห็นภายใน ก็เช่นเดียวกัน จะมีแสงสว่างภายในเกิดขึ้น จึงทำให้เราเห็นดวงธรรม เห็นกายภายใน เห็นพระธรรมกาย นี่คือสิ่งที่คล้ายกัน 2) สิ่งที่ต่างกัน ความต่างกัน ก็คือ การเห็นด้วยตา เป็นการเห็นโลกภายนอก จะเห็นชัดเจน ถ้าลืมตา ก็เห็นทันที ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ลืมตาจะเห็น 100% การเห็นด้วยใจ เป็นการเห็นโลกภายใน คือ การนึกทางใจเห็นภาพอยู่ทางใจ ถ้าสามารถลืมตาเห็น อะไรได้ เราก็สามารถนึกได้ เมื่อนึกภาพได้ ก็เห็นได้ แต่การเห็นนั้นจะเริ่มต้นจากการค่อยๆ เห็น แม้ในสิ่งที่ เราคุ้นเคยก็ตาม เช่น นึกถึงแปรงสีฟัน ขันล้างหน้า กะละมัง จานข้าว ก็นึกได้ แต่ไม่ชัดเหมือนลืมตาเห็น อุปมาเหมือนเอาวัตถุไปตั้งไว้ในที่ไกลๆ เราจะค่อยๆ เห็น 58 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More