ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นเหตุให้บางคนแม้นั่งสมาธิเป็นเวลานานแต่ใจกลับสับสนอลหม่านกับเรื่องร้อยแปดใจไม่สงบไม่เป็นสมาธิ
เลย หรือไม่ก็เป็นบ้าง คือ สามารถนำใจไปวางที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดได้บ้างเป็นครั้งคราว ครั้งละนิดๆ
หน่อยๆ นับได้เพียงชั่วนาทีหรือวินาที
ซึ่งเมื่อเทียบกับเวลาที่ลงนั่งทั้งหมดแล้วแทบจะถือว่าไม่ได้
เป็นสมาธิเลย เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้ผู้ฝึกใหม่พากันท้อทอย หมดแรงหมดกำลังใจ พากันเห็นสมาธิ
เป็นของยาก หรือเห็นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ “เสียงของผู้นำสมาธิ” จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ เพราะผู้ฝึกใหม่
ย่อมติด ย่อมพอใจ ย่อมชอบที่จะปล่อยใจไปตามเสียงต่างๆ ไปตามเรื่องราวต่างๆ ที่มาจากภายนอก
อยู่แล้วเป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาหลับตา เพราะเมื่อตาปิดภาพต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความคิด
ย่อมเป็นไปไม่ได้ เวลานี้นี่เองที่หูจะเข้ามาทำหน้าที่แทน คือ นำเสียงที่ได้ยินมาแปลงเป็นความคิด เป็นภาพพจน์
เข้ามาสู่กระแสใจของผู้ฝึกได้
โดยเหตุนี้ จึงแทนที่จะปล่อยให้หูของผู้ฝึกใหม่ได้ยินเสียงอื่นๆ เสียงต่างๆ ที่อาจนำมาซึ่งภาพ
และความคิดที่ไม่เกิดผลดี ที่เป็นโทษหรือรบกวนความสงบของผู้ฝึกใหม่ เทคนิคการใช้เสียงของผู้ที่มี
กำลังใจมากกว่า
จึงเป็นสิ่งจําเป็น
มีประสบการณ์การทำสมาธิที่ดีกว่าหนักแน่นมั่นคงกว่ามาน้อมนำในขณะหลับตา
4.3.1 เสียงของผู้นำสมาธิมีประโยชน์อย่างไร
เพราะใจของผู้ฝึกใหม่ยังไม่มั่นคง มักฟุ้งซ่านออกนอกศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดอยู่เสมอเสียงของ
ผู้นำจะเข้ามาทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
1) ประหนึ่งเป็นรั้วเตี้ยๆ กั้นล้อมใจไว้หลวมๆ พอสบายเพื่อไม่ให้ใจ เผลอวิ่งแล่นออกไปภายนอก
2) ทำหน้าที่คอยหว่านล้อมน้อมนำใจของผู้ฝึกให้คล้อยตาม ให้นึกตาม ให้ทำตาม ด้วยถ้อยคำและ
น้ำเสียงที่นุ่มนวล
3) โดยส่วนใหญ่เสียงของผู้นำสมาธิมักเป็นเสียงของพระอาจารย์ พระภิกษุผู้ชำนาญการปฏิบัติ
สมาธิภาวนา มีความบริสุทธิ์กายวาจาใจ มีศีลาจริยวัตรงดงาม จึงเป็นเสียงที่มีอานุภาพอันเกิดจาก
ความบริสุทธิ์ภายในสามารถน้อมใจเขาเหล่านั้นให้ชื่นชุ่มนุ่มนวล
4) เป็นเสียงที่เปล่งออกมาแหล่งของความสงบ คือ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด จึงมีพลานุภาพ
สามารถนำใจของเขาเหล่านั้นไปไว้ยังศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดได้โดยง่าย ง่ายกว่าการทำเองโดยลำพัง
5) การทำสมาธิ เป็นเรื่องของการใช้ใจ เสียงของผู้นำสมาธิที่ออกมาแหล่งของความสงบภายใน
จึงเท่ากับเป็นการสื่อสารกันระหว่างใจกับใจมากกว่า เพียงแต่ใช้สัญญาณเสียงเป็นเครื่องช่วยน้อมนำ
ในเบื้องต้นเท่านั้น เปรียบเสมือนการฟังเพลงที่ผู้ร้อง ร้องด้วยจินตนาการอันบรรเจิด ผู้ฟังย่อมได้ภาพพจน์
จากการฟังเพลงนั้นมากกว่า ดีกว่า การรับฟังจากผู้ร้องที่ร้องโดยขาดจินตนาการ
บทที่ 4 เทคนิคการวางใจในขณะฟังธรรม DOU 51