การสั่งสมนิสัยในการฟังธรรม MD 204 สมาธิ 4  หน้า 58
หน้าที่ 58 / 106

สรุปเนื้อหา

การสั่งสมนิสัยในการฟังธรรมมีความสำคัญในการเข้าถึงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ฟังควรมีลักษณะไม่ลบหลู่และมีความยินดีในการฟัง รวมถึงมีศรัทธาและปัญญาเพื่อเข้าใจธรรมอย่างแท้จริง โดยแบ่งออกเป็นระดับการรับรู้ที่แตกต่างกัน วิถีทางฟังธรรมจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาตนให้เหมาะสมกับการเข้าถึงธรรมที่ถูกต้องและตามหลักพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะของผู้ฟังธรรม
-ระดับปัญญาของผู้ฟัง
-การยอมรับและศรัทธาในฟังธรรม
-กระบวนการฟังธรรมที่นำไปสู่การปฏิบัติ
-ผลจากการปฏิบัติตามธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.2.4 การสั่งสมนิสัยในปัจจุบัน การสั่งสมนิสัยในปัจจุบันนั้นก็เป็นอีกประการหนึ่งที่จะทำให้ผู้ฟังนั้นบรรลุธรรมหรือไม่ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงบุคคลเมื่อฟังธรรมแล้ว ควรที่จะเข้าถึงธรรม” ไว้ดังนี้ คือ 1. บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม 2. เป็นผู้อันความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม 3. เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง 4. เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา บุคคลผู้มีปัญญานี้ ยังอาจแบ่งได้ 3 ระดับ คือ (1) บุคคลมีปัญญาดังหม้อคว่ำ คือ ขณะฟังธรรมหรือเมื่อเลิกฟังก็ไม่ใส่ใจ เหมือนราดน้ำลงไป บนหม้อคว่ำ น้ำย่อมไหลไปไม่ขังอยู่ (2) บุคคลมีปัญญาดังหน้าตัก คือ ขณะฟังธรรมก็ใส่ใจ เหมือนวางของไว้บนหน้าตัก พอลุกขึ้น ของนั้นก็ตกไป (3) บุคคลมีปัญญามาก เหมือนหม้อหงาย คือ ขณะฟังธรรมหรือเลิกฟังก็ยังใส่ใจอยู่ เหมือนเท น้ำลงไปในหม้อ น้ำย่อมขังอยู่ 5. ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ สำหรับอุปนิสัยของการฟังธรรมเพื่อเข้าถึงธรรมในพุทธพจน์นี้จะเห็นว่า คนที่จะฟังธรรมจาก พระพุทธองค์ หรือแม้แต่จากคนอื่นก็ตาม จะต้องไม่หลบหลู่ผู้ฟัง มีความยอมรับในตัวของผู้แสดงธรรม อันจะทำให้ผู้ฟังเกิดความต้องการที่จะฟังธรรมจากผู้แสดงธรรมคือ มีความพอใจยินดีในการที่จะฟังธรรม การยอมรับ นับถือศรัทธาและทำตามผู้แสดงธรรมนั้น ผู้ฟังจำเป็นต้องมีศรัทธา และปัญญาเป็นตัวผลักดัน การน้อมศรัทธานั้น ตามปกติแล้วจะเน้นไปที่พระพุทธคุณเป็นหลัก ในขณะฟังนั้นเองจะเห็น อาการของศรัทธา ปัญญาทำงานประสานกัน ลักษณะของคนที่ฟังธรรม จนนำไปสู่ผลตามที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ ทรงแสดงเป็นรูปของกระบวนการทางจิต ไว้ดังนี้ “บุคคลผู้มีศรัทธาย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษ เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมฟังธรรม ในขณะฟัง ธรรม ย่อมเงี่ยหูลงฟัง ในขณะที่เงี่ยหูลงฟังย่อมพิจารณาข้อความ เมื่อพิจารณาย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจ เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจย่อมน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรม ย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติตามสมควรแก่เหตุ” อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 153 หน้า 322. * อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, มก. เล่ม 34 หน้า 98. * มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 21 ข้อ 657 หน้า 352 บทที่ 4 เทคนิคการวางใจในขณะฟังธรรม DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More