การพัฒนาสติและการฝึกสมาธิในชีวิตประจำวัน MD 204 สมาธิ 4  หน้า 31
หน้าที่ 31 / 106

สรุปเนื้อหา

การกำหนดหมายถึงการเจริญสติในปัจจุบันอย่างมีสมาธิ มีความระมัดระวังและไม่วอกแวก เมื่อมีสติไม่ขาดช่วงจะทำให้การดำเนินชีวิตและการฝึกสมาธิเป็นไปอย่างดี การฝึกสติช่วยให้เรามีความสุขและสามารถอยู่กับปัจจุบันได้ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้ชัดในทุกอิริยาบถ การพัฒนาสติจะช่วยให้ชีวิตดำเนินไปอย่างราบรื่นและลดความทุกข์จากอดีตและอนาคต โดยการฝึกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การฝึกสมาธินั้นง่ายและได้ผลลัพธ์ที่ดี เช่นเดียวกับการขัดเกลาจิตใจให้สงบและมีสมาธิ

หัวข้อประเด็น

-การเจริญสติ
-การมีสมาธิในชีวิตประจำวัน
-การฝึกสติและสมาธิ
-สติในพระพุทธศาสนา
-การลดความทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. กำหนด คือ การเจริญสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดถึงอดีตหรือใฝ่ฝันถึงอนาคต เปรียบเสมือน บุรุษผู้ถือหม้อน้ำมันเดินมา มีบุรุษคนหนึ่งถือดาบเดินตามไปข้างหลัง โดยบอกว่า ถ้าทำน้ำมัน จะตัดศีรษะให้ขาด" บุรุษนั้นก็ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้น้ำมันไหล มีสติจดจ่อไม่วอกแวก ฉะนั้น 2. จดจ่อ คือ การจับจ้องอารมณ์อย่างแนบแน่น ไม่กำหนดรู้อย่างผิวเผิน เหมือนการเล็งธนูแล้ว ยิ่งให้พุ่งเข้าไปสู่เป้าด้วยกำลังแรงจนธนูปักตรึงอยู่กับที่ 3. ต่อเนื่อง คือ การมีสติไม่ขาดช่วงในทุกขณะ เหมือนการหมุนอย่างต่อเนื่องของพัดลมที่ค่อยๆ มีกำลังแรงขึ้น 4. เท่าทัน คือ การกำหนดอารมณ์ทุกอย่างได้ทันท่วงทีในขณะปัจจุบัน ไม่ปล่อยให้เผลอสติ ลืมกำหนด รู้ และไม่ปล่อยให้จิตเผลอไผลเลื่อนลอยไป 1) สติกับการดำเนินชีวิต การฝึกสติเป็นสิ่งที่เราควรฝึกให้มีในทุกการกระทำและในทุกอิริยาบถ เพราะนอกจากจะทำให้เรา สามารถทำกิจต่างๆ ได้อย่างสำเร็จด้วยดีแล้ว ยังเป็นการฝึกให้สติอยู่กับเนื้อกับตัวของเราด้วย พระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า “เมื่อเดินอยู่ก็รู้ชัดว่า เราเดิน หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน หรือเมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง หรือเมื่อ นอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน อนึ่งเมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้แล้วอย่างใดๆ ก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้น อย่างนั้นๆ เป็นผู้ทำสัมปชัญญะ (ความเป็นผู้รู้พร้อม) ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมาข้างหลัง ย่อมเป็น ผู้ทำสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้ายข้างขวา ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการกู้อวัยวะ เข้า เหยียดอวัยวะออก ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่” สติที่เราฝึกในชีวิตประจำวันจะทำให้เราอยู่กับความคิดที่เป็นปัจจุบัน ไม่ตกอยู่ในภาพของอดีตหรือ อนาคตตลอดเวลา เพราะว่าโดยปกติเมื่อมนุษย์รับอารมณ์ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจแล้ว ก็มักจะใส่ใจต่อทุกสิ่งที่มากระทบ และตอบสนองด้วยอำนาจของกิเลสที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ และส่งผล ให้เกิดเป็นความทุกข์ มีความทะยานอยาก เร่าร้อน วิตกกังวลเป็นต้น 2) สติกับการฝึกสมาธิ สติที่เราฝึกได้อย่างต่อเนื่องในกิจกรรมต่างๆ จนเป็นมหาสติย่อมเอื้อต่อการปฏิบัติสมาธิ นั่นคือ ใจของเราจะไม่ฟุ้งซ่าน และถ้าหากเราได้ฝึกสติในการนึกถึงภาพนิมิต หรือการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายบ่อยๆ ย่อมจะทำให้ใจของเราหยุดนิ่งอย่างถูกส่วนได้อย่างรวดเร็วขึ้น 1 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 364 หน้า 457. * ทีฆนิกาย มหาวรรค, มก. เล่ม 14 ข้อ 276-277 หน้า 212-213. 22 DOU สมาธิ 4 เทคนิคการทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More