ข้อความต้นฉบับในหน้า
1) เปิดเสียงให้พอได้ยิน ไม่ดังเกินไป ไม่ค่อยเกินไป ดังได้อธิบายไว้แล้วในเบื้องต้น
2) ไม่คิดโต้แย้ง หรือ ไม่เกิดความลังเลสงสัยในคำพูดนั้น หรือหากเกิดขึ้นก็ให้ละเอาไว้ก่อน
ยังไม่ต้องคิดหาคำตอบในเวลานั้น
3) ฟังไปเรื่อยๆ ทำตามไปเรื่อยๆ นึกภาพตามไปเรื่อยๆ ประหนึ่งเป็นเด็กน้อยไร้เดียงสา กำลัง
นั่งฟังนิทานและจินตนาการตามไปอย่างเพลิดเพลิน
4) ขณะฟังให้ทำความรู้สึกประหนึ่งว่าเสียงนั้นไหลผ่านสองหูของเราลึกเข้าไปประชุมรวมกัน
ภายในตรงศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด
5) ทำตามเสียงที่แนะนำไป ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น เช่น เสียงแนะนำให้นึกเหมือนมี
พระจันทร์ดวงใหญ่ส่องแสงสว่างนวลอยู่ในกลางกาย ก็ให้นึกตามไป พระจันทร์จะเล็กใหญ่แค่ไหน
สุดที่ใจของเราจะทำได้ ขอให้นึกว่าเป็นพระจันทร์ก็แล้วกันเป็นใช้ได้ ส่วนแสงจะริบหรี่หรือนวลสว่าง
เพียงใดก็เท่าที่ทำได้เหมือนกัน สำคัญคือขอให้ได้นึกเท่านั้นเป็นใช้ได้
แล้วก็พอ
6) อย่ากังวลว่าทำไม่ได้ หรือที่กำลังทำอยู่นี่ถูกไหม ใช่หรือเปล่า ขอให้คิดอย่างเดียวว่าได้ทำตาม
ตัวเอง
4.3.4 ประโยชน์ที่ผู้ฝึกสมาธิจะพึงได้จากการฝึกด้วยการฟังเสียงผู้นำ
1) ทำให้คลายความวิตกว่าจะทำไม่ได้ เพราะอย่างน้อยก็ได้นึกตามเสียงไปอยู่แล้ว
2) ไม่ต้องกังวลกับเวลา เพราะฟังเสียงไปเรื่อยๆ สบายๆ จบเมื่อใดก็เมื่อนั้น
3) ถึงแม้จะทำตามไม่ได้ทั้งหมด แต่การปล่อยใจตามเสียงย่อมทำให้ใจอยู่ภายในได้มากกว่าทำ ด้วย
4) ได้ความสงบ ได้ความสบายจากการฟังเสียงของผู้นำ อย่างน้อยย่อมทำให้ไม่เกิดความเครียด
จากการปฏิบัติสมาธิภาวนา
5) แม้ทำได้มากบ้าง น้อยบ้าง ก็ถือว่าเป็นกรณียกิจ ถือว่าเป็นบุญ ถือว่าได้บุญ เพราะการฟังเสียง
ผู้นำสมาธิ ถือเป็นหนึ่งในมงคลชีวิต คือ “การฟังธรรม”
ดังนั้นการฝึกสมาธิด้วยการฟังเสียงผู้นำจึงถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การฝึกสมาธิ
ได้ผลเร็ว เกิดความสงบเร็วและไม่เกิดความเครียดที่มาจากการใช้ความพยายาม หรือจากการนำความคิด
เข้าบังคับตนเอง และเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถเข้าถึงธรรมะภายในได้
บทที่ 4 เทคนิคการวางใจ ในขณะฟังธรรม DOU 53