การฟังพระสัทธรรมเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน MD 204 สมาธิ 4  หน้า 55
หน้าที่ 55 / 106

สรุปเนื้อหา

การฟังพระสัทธรรมเป็นธรรมที่สำคัญต่อการปฏิบัติธรรม เพื่อยกระดับจิตใจและนำไปสู่การหมดกิเลสและการเข้าถึงพระนิพพาน การมีผู้แสดงธรรมที่เหมาะสมช่วยให้การฟังธรรมประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา โดยการแสดงธรรมที่มีองค์ประกอบที่งดงามและมีลักษณะเสียงที่ดึงดูดความสนใจผู้ฟัง จึงส่งผลให้ผู้ฟังสามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการฟังพระสัทธรรม
-ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการฟังธรรม
-องค์ประกอบของผู้แสดงธรรมที่ดี
-ลักษณะเสียงในการแสดงธรรมที่น่าฟัง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การฟังพระสัทธรรมในข้อนี้ เป็นธรรมที่สามารถทำให้ผู้ฟังสามารถปฏิบัติจนหมดกิเลส เข้าสู่ พระนิพพานได้ ซึ่งการฟังธรรมเช่นนี้จะเกิดในยุคที่มีผู้รู้อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ซึ่งการที่จะมี ผู้รู้อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นนั้น เป็นช่วงเวลาที่น้อยมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่มีทั้งหมด ในบางยุคก็ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ดังนั้นการฟังสัทธรรมจึงป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการฟังธรรมยังมีความสำคัญต่อการขัดเกลาตนเอง เพื่อยกระดับจิตใจและ เพื่อผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรม 4.2 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการฟังธรรม เราได้ศึกษามาแล้วว่า การฟังธรรมนั้นส่งผลให้ผู้รับฟัง สามารถบรรลุผลสูงสุดได้จนกระทั่งหมด กิเลส เข้าสู่พระนิพพาน ทั้งนี้มีองค์ประกอบที่ทำให้การฟังธรรมนั้นสำเร็จหรือไม่ ดังนี้ คือ 4.2.1 ผู้แสดงธรรม เป็นผู้มีความสามารถในการแสดงธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้ สามารถนำใจของผู้ฟังให้รู้แจ้งเห็นจริงตามไปได้ ในที่นี้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สูงสุด เนื่องจากพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ก็เพื่อที่จะตรัสรู้และจะได้แสดงธรรมโปรดสัตว์ เพื่อให้หมดจากกิเลสอาสวะเข้าสู่พระนิพพาน ด้วยบุญบารมีที่สั่งสมมาเมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม สามารถทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรมตามไปได้ ทั้งนี้โดยบุคลิกภาพส่วนตัวของพระองค์ พระองค์ทรงมีลักษณะ หลายประการที่ทำให้การแสดงธรรมประสบความสำเร็จ เช่น พระองค์เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธา ได้ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 พระองค์ อีกทั้งยังเป็นผู้มีเสียงดุจเสียงพรหม ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ 1. เป็นเสียงไม่ขัดข้อง 2. เป็นเสียงผู้ฟังทราบได้ง่าย 3. เป็นเสียงไพเราะ 4. เป็นเสียงน่าฟัง 5. เป็นเสียงกลมกล่อม 6. เป็นเสียงไม่แปร่ง 7.เป็นเสียงลึก 8.เป็นเสียงก้องกังวาน 1 ขุททกนิกาย มหานิเทส, มก.เล่ม 66 ข้อ 886 หน้า 531. 46 DOU สมาธิ 4เทคนิคการทำสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More