การสร้างความวิริยะในพระพุทธศาสนา MD 204 สมาธิ 4  หน้า 18
หน้าที่ 18 / 106

สรุปเนื้อหา

ภิกษุทั้งหลายกล่าวถึงความสำคัญของการสร้างวิริยะและการหลีกเลี่ยงอบายมุข เพื่อให้สุขภาพดีและมีสมาธิในการปฏิบัติธรรม ในประวัติศาสตร์มีตัวอย่างของผู้เข้าถึงธรรม เช่น พระมงคลเทพมุนี การสร้างความวิริยะให้เกิดผลเร็วจำเป็นต้องใช้ความเพียรสูง.

หัวข้อประเด็น

-การสร้างวิริยะ
-ความสำคัญของสุขภาพ
-การหลีกเลี่ยงอบายมุข
-การทำสมาธิ
-ตัวอย่างผู้เข้าถึงธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น แม้พวกเราจะยังคุณวิเศษให้เกิดเหมือนท่าน แล้วจะนำอาหารมา บริโภคเอง” ดังนี้แล้วก็ไม่รับ ในวันที่ 2 พระเถระองค์ที่ 2 บรรลุอนาคามิผล พระเถระนั้นนำบิณฑบาตมาแล้ว ก็นิมนต์ภิกษุรูปอื่น ให้ฉันอย่างนั้นเหมือนกันภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ก็พวกเราทำกติกากันไว้อย่างนี้ว่า “พวกเรา จะไม่บริโภคบิณฑบาตที่พระมหาเถระนำมา แต่จะบริโภคบิณฑบาตที่พระอนุเถระนำมาหรือ” พระเถระองค์ที่ 2 กล่าวว่า “ผู้มีอายุ ข้อนั้นไม่มีเลย” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้พวกเรายังคุณวิเศษให้เกิดเหมือนท่านแล้ว อาจเพื่อบริโภค ด้วยความเพียรแห่งบุรุษของตนได้ จึงจะบริโภค” ดังนี้แล้วก็ไม่รับ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานแล้ว ภิกษุผู้เป็นอนาคามีบังเกิดในพรหมโลก ภิกษุอีก 5 รูปไม่อาจยังคุณวิเศษให้บังเกิดได้ ผ่ายผอมแล้ว มรณภาพ ในวันที่ 7 บังเกิดในเทวโลก ในสมัย ของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ จุติ(ตาย) แปลว่า เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในตระกูลต่างๆ เมื่อได้มาเกิดในภพสุดท้าย ภิกษุรูปหนึ่งได้เป็นพระราชา พระนามว่า ปุกกุสาติ ฟังธรรมจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการพบกันครั้งแรก ก็ได้เป็นพระอนาคามี มรณภาพแล้วได้ไปสู่พรหมโลก ท่านที่เหลือ ได้เกิดมาเป็นพระกุมารกัสสปะ พระทารุจีริยะ พระทัพพมัลลบุตร พระสภิยะ ทั้ง 4 องค์ ได้เป็นพระอรหันต์ โดยการฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จากข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า การทำความเพียรแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพันนั้น ได้ผลเร็วเห็นทันตา แต่ต้องใช้ความเพียรอย่างสูงจึงจะทำได้ ดังนั้นในประวัติศาสตร์จึงมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำได้ ในยุค ของเราก็มีพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีที่เป็นตัวอย่างแก่เรา 1.2.3 วิธีการสร้างให้มีความวิริยะ เราจะต้องป้องกันศัตรูตัวร้ายที่มาทำร้ายวิริยะ คือ อบายมุข ทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การเที่ยว เตร่เฮฮา การสูบบุหรี่ต่างๆ ความเจ้าชู้ คบคนไม่ดีความเกียจคร้านต่างๆ ใครเคยดื่มเหล้าหัวราน้ำ ต้องเพลา ต้องเลิกต้องงด ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เสียสุขภาพ เมื่อสุขภาพไม่ดีพอถึงคราวจะทำงาน ก็ไม่อยากทำ ดื่มเหล้าเมามาตื่นเช้าก็ยังมึนอยู่ ยังไม่สร่าง ทำให้ขยันไม่ออกเพราะสภาพร่างกายไม่พร้อม พักผ่อนไม่พอ ร่างกายไม่แข็งแรง ต้องเว้นอบายมุขเสียก่อน เมื่อสุขภาพดี จึงจะทำการงานได้ ในการคิดจะทำสมาธิ ต้องลงมือทำทันที ส่วนใหญ่เสียเวลาตรงตั้งท่าเยอะ พอคิด ใช้เวลาตั้งท่า หลายวัน พอเริ่มจะทำก็เหนื่อยเสียก่อน คิดจนเหนื่อย มีลูกเล่นมาก ทำได้หน่อยเดียวเลยเลิก พอคิดปั๊บ ต้องทำเลย จะรู้สึกสนุกและอยากจะทำต่อ เหมือนเด็กเรียนหนังสือเด็กที่ขยันเรียนหนังสือ เรียนเสร็จ กลับมาบ้านทบทวนแบบฝึกหัดทบทวนแบบเรียน การบ้านมีทำ พอถึงคราวไปเรียนใหม่จะอยากเรียนต่อ เพราะความรู้เก่าก็แน่น ความรู้ใหม่ก็ดูมาล่วงหน้า อยากจะเรียน ถึงคราวเรียนสบตาครูอย่างเดียว กลัวครูจะไม่ถาม อยากให้ถามพร้อมจะตอบ คนที่ทำสมาธิบ่อยๆ จะรู้สึกมีความสุขกับการทำสมาธิ และอยากนั่งให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่นนี้ บ บทที่ 1 อิ ท ธิ บ า ท 4 DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More