ข้อความต้นฉบับในหน้า
จรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่สบาย ๆ ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป
ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบาย ๆ คล้ายกับกำลังพัก
ผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตา หรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น ทำใจสบาย ๆ
สร้าง
ความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบ
สบายอย่างยิ่ง
๔. นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใส
บริสุทธิ์ ปราศจากราคีหรือรอยตำหนิใด ๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกาย
ของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบาย ๆ เหมือน
ดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่าง
นุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมาอรหัง” หรือค่อย ๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใส
ให้ค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐาน ที่
๑ เป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างเบา ๆ สบาย ๆ ใจเย็น ๆ พร้อมกับคำ
ๆ
ภาวนา
ๆ
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส กลมสนิทปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วาง
อารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์
หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไปก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบายๆ
แล้วนึกนิมิตขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่นที่มิใช่
ศูนย์กลางกาย ให้ค่อย ๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการ
บังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุด
ศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาว ดวงเล็ก ๆ อีกดวง
หนึ่งช้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็ก ๆ ตรง
๒๔๘ อยู่กับยาย