การฝึกสมาธิเพื่อความสงบ อยู่กับยาย หน้า 252
หน้าที่ 252 / 258

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอวิธีการฝึกสมาธิที่เน้นการทำใจเป็นกลางและไม่กังวลต่อผลลัพธ์ของการฝึก การตั้งจิตที่ศูนย์กลางกายและการประคองสภาพจิตใจในทุกอิริยาบถจะช่วยให้เกิดความสงบและสามารถไปสู่การบรรลุวิปัสสนาได้ เมื่อผู้ปฏิบัติมีสมาธิโดยไม่ต้องกังวลถึงการหายไปของนิมิต หากประสบความสามารถ จะสามารถสัมผัสกับความสุขได้เมื่อมีการฝึกอย่างสม่ำเสมอ การฝึกสมาธิเพียงพอจะเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความทุกข์ในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-การทำใจให้เป็นกลาง
-การนิ่งในการฝึกสมาธิ
-การประคองจิตในอิริยาบถต่างๆ
-การสร้างนิมิตในสมาธิ
-การรักษาดวงปฐมมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอ จากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการ ขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิ เจริญภาวนาวิชชาธรรยกาย อาศัยการนึก “อาโลกกสิณ” คือ กสิณความ สว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อเกิดนิมิตเป็นดวงสว่างแล้วค่อยเจริญวิปัสสนา ในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่า ย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่น ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรม นิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๕. นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้ง หมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตาม ปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกสมาธิเพียงเพื่อให้เกิดความสบายใจ เป็นการพ กผ่อนหลังจากการปฏิบัติหน้าที่ ภารกิจประจำวัน โดยยังไม่ปรารถนา จะ ทําให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ พอเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ ไม่ ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้น ๒๕๒ อยู่กับยาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More