ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระครูญาณวิรัติ (โป๊) วัดพระเชตุพน พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จนกระทั่งเป็นที่รับรองของอาจารย์
ว่าร่ำเรียนได้เท่าอาจารย์ และมอบภาระให้เป็นผู้สอนต่อได้ แต่ท่านไม่พอใจในความรู้ที่มีอยู่ จึงค้นคว้าต่อ
ไป
ล่วงเลยไป 11 พรรษา หลังจากที่เรียนพระปริยัติจนพอแก่ความต้องการ จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ
อย่างจริงจัง ด้วยหวนรำลึกว่า
“ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆ ในการบวช จำเดิมอายุสิบเก้า เราได้ปฏิญาณตนบวชจนตาย ขออย่าให้
ตายในระหว่างการบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง 15 พรรษา ย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์
ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุ ยังไม่รู้ไม่เห็น สมควรแล้วที่จะ
ต้องกระทำอย่างจริงจัง”
เมื่อตกลงใจดังนั้นแล้ว ในกลางพรรษาที่ 12 ในวันเพ็ญเดือน 10 ปี พ.ศ. 2460 ณ วัดโบสถ์บน
ต.บางคูเวียง จ.นนทบุรี หลวงพ่อท่านได้ตั้งใจปฏิบัติธรรมเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ดำเนินรอยตามพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าด้วยการตั้งสัจจอธิษฐานว่า “ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่
ลุกจากที่นี้ จนหมดชีวิต” ด้วยการทำความเพียรอย่างไม่อาลัยในชีวิต ดำเนินจิตเข้าไปในหนทางสายกลาง
ในที่สุด ท่านก็ได้เข้าถึงธรรมภายใน ที่เรียกว่า “พระธรรมกาย” อันเป็นสิ่งที่ยืนยันพระดำรัสขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสไว้แก่เหล่าสาวกว่า “ธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต”
1.3 การปฏิบัติตามทางสายกลาง
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติจนกระทั่งตรัสรู้ ตามทางสายกลาง แต่ทางสาย
กลางที่พระพุทธเจ้าปฏิบัตินั้น ไม่ได้มีบอกไว้ชัดเจนในพระสูตรว่ามีวิธีการเช่นไร เพียงแต่บอกว่า คือ มรรคมี
องค์ 8 พระมงคลเทพมุนีหลังจากที่ได้ปฏิบัติโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันจนเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ก็ได้ค้นพบ
ว่าทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา อันประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8 ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงค้นพบนั้น
แท้จริงแล้วมิได้หมายถึงความประพฤติทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการฝึกใจ ที่ดำเนิน
ไปตามมรรคมีองค์ 8 หลวงพ่อได้อธิบายไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่า
“นี่ที่ไปถึงพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ไม่ได้ไปทางอื่นเลย
ไปทางปฐมมรรค ไปกลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ
1 วโรพร, ตามรอยพระมงคลเทพมุนี, (กรุงเทพมหานคร : ฟองทองเอนเตอไพรส์ จำกัด, 2543), หน้า 8.
* ฉลวย สมบัติสุข, คู่มือสมภาร (กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, 2545), หน้า 82
* ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ฉบับบาลีสยามรัฐ), เล่ม 11 ข้อ 55 หน้า 92.
6 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า