ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นแสงสว่าง ใหม่ๆ อาจจะเป็นความรู้สึกว่ามีแสงสว่างออกจากภายในกลางกายของเรา แล้วแผ่ขยายไป
ให้ทั่ว แต่ถ้าใครทำเป็นแล้ว มันจะเป็นแสงสว่างจริงๆ ที่เราเห็นแจ้งด้วยใจของเรา เป็นแสงที่ละเอียดอ่อน
นุ่มนวล เป็นพลังมวลแห่งความบริสุทธิ์ ประดุจแสงสว่างแห่งพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ แต่ว่ากระจ่างแจ่ม
จ้าเหมือนอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน คือ สว่างประดุจดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน แต่ว่าเย็นเหมือนแสงจันทร์นำ
ความชุ่มชื่นเบิกบานให้เกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลาย ให้นึกแผ่ไป แล้วก็ทำใจให้นิ่งๆ โล่งๆ ว่างๆ
ใจจะได้เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับพระรัตนตรัย แผ่ไปอย่างนี้ สักหนึ่ง หรือสองนาที”1
4. นึกถึงความจริงของสรรพสิ่งว่าตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ จะทำให้ใจของเราปลอดโปร่ง
ตัดเครื่องผูกพันในใจให้หมดสิ้นไป
ตัวอย่างที่ 1 “นึกถึงความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนเอาไว้ว่า
สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมวล จะเป็นสิ่งมีชีวิตก็ตามหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ท่านใช้คำว่าสังขารที่มีวิญญาณครอง
หรือไม่มีวิญญาณครองก็ตาม ทุกสิ่งในโลกนี้จะเป็นคนเป็นสัตว์เป็นสิ่งของทั้งหมด ต้นหมากรากไม้
ภูเขาเลากา ตึกรามบ้านช่อง โลกของเรา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวในอากาศ ผู้คนอะไรต่างๆ ทั้งหมด
พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมวลเหล่านี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลายไป
เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เป็น
ตัวเป็นตน เพราะว่าไม่คงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเป็นตัวตนจริงๆ เป็นสาระเป็นแก่นสารจริงๆ แล้ว
ต้องคงที่ ต้องไม่เปลี่ยนแปลง หรือถ้าจะเปลี่ยนแปลงก็ดีขึ้นไป ยิ่งเปลี่ยนแปลงก็ยิ่งดีขึ้นไปตามลำดับ
เหมือนเพชรยิ่งแก่ยิ่งแข็ง เหมือนธรรมยิ่งสุขยิ่งใสยิ่งสว่างอย่างนั้น แต่ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งมวลไม่เป็นอย่างนั้น
มันเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา
ให้เราคิดอย่างนี้สักหนึ่งหรือสองนาทีก่อนที่เราจะปฏิบัติธรรม พิจารณาในสิ่งทั้งหลายทั้งมวล
แม้กระทั่งร่างกายที่เราอาศัยนั่งปฏิบัติธรรมอยู่นี้ ก็มีสภาพเช่นเดียวกัน คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลาย
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เคลื่อนออกมาจากครรภ์มารดา เปลี่ยนแปลง
เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ แล้วก็จะเปลี่ยนแปลงต่อไปจนกระทั่งไปสู่เชิงตะกอน เปลี่ยนกันไปอย่างนี้
หนึ่งหรือสองนาทีที่เราพิจารณาในสิ่งเหล่านี้ก่อนการฝึกใจให้หยุดให้นิ่ง จะช่วยให้ใจเราปลอดกังวล จะไม่
ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เพราะว่าเราพิจารณาให้เห็นไปตามความเป็นจริง การพิจารณาอย่างนี้
จะได้ใจที่ปลอดโปร่ง เป็นใจที่เหมาะต่อการปฏิบัติธรรม และไม่ช้าจะเข้าถึงธรรมะได้”
ตัวอย่างที่ 2 “ก่อนที่เราจะปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เราต้องทำใจของเรานี้ให้ปลอด
กังวล ไม่ติดในคน ในสัตว์ ในสิ่งของ โดยพิจารณาด้วยปัญญาบริสุทธิ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนเอา
1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 2 พฤษภาคม 2536
* พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 22 พฤษภาคม 2536
32 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า