ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 7
เทคนิคการวางใจ
ดังที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า ใจของเราเหมือนกับลิงที่วิ่งวุ่นไปมา มักจะซัดส่ายอยู่เสมอ เราเอง
กำลังเรียนรู้ในการฝึกหัดจับลิงให้ค่อยๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่ หลักที่จะจับลิงไว้ไม่ให้ดิ้นรนไปมา
มีความสำคัญ ถ้าหากเราได้หลักที่มั่นคง ลิงก็จะไม่วิ่งไปไหนต่อไหนได้อีก แต่ถ้าได้หลักที่ไม่มั่นคง
ลิงอาจจะวิ่งวุ่นต่อไปได้ เราจึงควรจะต้องเรียนรู้หลักหรือที่ที่ควรจะนำใจไปวางไว้ว่าอยู่ ณ จุดไหน และ
มีวิธีการทำให้ใจอยู่ ณ ที่นั้นอย่างไร
7.1 ความหมายของการวางใจ
การวางใจ หมายถึง การนำใจของเรามาตั้งไว้ ณ ฐานที่ตั้งของใจ คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อ
ให้ใจของเราเข้าถึงความเป็นสมาธิ และเข้าถึงกลางหรือเส้นทางสายกลางอันเป็นเส้นทางที่จะนำใจ ให้เข้า
สู่หนทางภายใน จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด
7.2 ความสำคัญของการวางใจ
จากที่เคยศึกษามาแล้วว่า ประเภทของสมาธิจำแนกตามการวางใจได้ 3 ประเภท ได้แก่ ประเภท
วางใจไว้นอกร่างกาย วางใจในตัวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และวางใจไว้ในร่างกายที่ศูนย์กลางกาย
วิธีปฏิบัติที่มีอยู่ในโลกมีหลายวิธี แต่ที่ปรากฏในวิสุทธิมรรคมี 40 วิธี ซึ่งแต่ละวิธี สามารถปฏิบัติ
เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายได้ทั้งสิ้น แต่ที่ไม่เข้าถึงพระธรรมกาย และไม่รู้จักคำว่าธรรมกาย เพราะวางใจ
ไม่ถูกที่ คือ เอาใจส่งออกไปข้างนอกบ้าง เอาใจไปตั้งไว้ที่ฐานอื่นบ้าง ไม่ได้ตั้งไว้ที่ฐานที่ 7 จึงทำให้ไม่พบ
พระธรรมกาย การเข้าถึงพระธรรมกายจะเกิดขึ้นเมื่อวางใจถูกส่วนอยู่ตรงที่ศูนย์กลางกาย
ดังนั้น การวางใจไว้ถูกที่ จึงมีความสำคัญมากต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
วิธีการวางใจประเภทเดียวที่จะทำให้เข้าถึงพระธรรมกายได้ คือ จะต้องวางใจไว้ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
7.3 ฐานที่ตั้งของใจ
ฐานที่ตั้งของใจ ตามที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี แนะนำไว้มีอยู่ 7 ฐาน คือ
76 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า