การรักษาสมาธิในชีวิตประจำวัน MD 102 สมาธิ 2 หน้า 69
หน้าที่ 69 / 93

สรุปเนื้อหา

บทที่ 6 นำเสนอวิธีการรักษาสมาธิในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการทำกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสมาธิ ทั้งการคิด พูด และทำ สิ่งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการเจริญภาวนา รวมถึงหัวข้อ 7 ที่สนับสนุนการรักษาสมาธิ เช่น อาวาสและโคจร นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถรักษาความละเอียดของใจและเข้าถึงธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คัมภีร์วิสุทธิมรรคมีวิธีการแบ่งหัวข้อที่สำคัญในด้านการรักษาสมาธิอย่างชัดเจน.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาสมาธิ
-กิจกรรมในชีวิตประจำวัน
-วิสุทธิมรรค
-การเจริญภาวนา
-สิ่งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมต่อสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 6 การรักษาสมาธิ การประคองรักษาสมาธิ มีความสำคัญในการเกื้อหนุนให้การนั่งสมาธิในรอบต่อๆ ไปได้ผลดี การที่เรารักษาสมาธิของเราให้ต่อเนื่อง จะทำให้ใจของเรามีความละเอียดประณีตไปตามลำดับ จนเมื่อใจของเรามีความละเอียดเพียงพอ ก็จะเข้าถึงธรรม การที่เราจะรักษาสมาธิได้ต่อเนื่องตลอดทั้งวันนั้น การทำกิจกรรมของเราในแต่ละวันมีความ สัมพันธ์กันอย่างยิ่ง สิ่งที่เราคิดพูดทำทุกอย่างจะมีผลต่อการรักษาสมาธิของเราให้คงอยู่ต่อไป เนื้อหาในบทเรียนจะให้คำแนะนำว่า เราควรจะทำอย่างไรในชีวิตประจำวันเพื่อให้สมาธิของเรามีความ ละเอียดอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมต่อการเจริญภาวนา นักศึกษาควรเรียนรู้สิ่งที่ไม่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ(อสัปปายะ) และสิ่งที่เหมาะแก่การ เจริญภาวนา(สัปปายะ) ที่เป็นเครื่องช่วยในระหว่างประคองใจรักษาสมาธิของเราให้คงอยู่ ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้อธิบายไว้ว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้รักษาสมาธิของเราไว้ได้ คือช่วยรักษานิมิต ในการทำสมาธิ ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นเป็นปฏิภาคนิมิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 หัวข้อ คือ 1. อาวาส ที่อยู่ ที่อาศัย ที่หลับและที่นอน 2. โคจร สถานที่ที่ควรไป 3. ภัสสะ ถ้อยคำ 4. บุคคละ บุคคล 5. โภชนะ อาหาร 6. อุตุ ฤดู 7. อิริยาบถ การเดิน นั่ง นอน 1 วิสุทธิมรรค, พระพุทธโฆสาจารย์, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมบรรณาคาร, 2466), หน้า 270. 60 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส มา ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More