การนึกนิมิตในปฏิบัติธรรม MD 102 สมาธิ 2 หน้า 52
หน้าที่ 52 / 93

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายการนึกนิมิตตามคำสอนของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หัวใจสำคัญคือการนึกนิมิตให้สบายและสงบ โดยเลือกสัณฐาน สีสัน ขนาด และตำแหน่งของนิมิต ตั้งแต่ศูนย์กลางกายที่ 7 วิธีการนึกที่แนะนำคือการกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ นึกด้วยอารมณ์ที่สงบ โดยไม่ต้องรีบเร่ง จะช่วยให้ปฏิบัติธรรมได้อย่างมีคุณภาพและเกิดสติระลึกได้อย่างต่อเนื่อง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าถึงความสงบภายในจิตแบบนิ่งสงบไม่มีการเร่งรีบ

หัวข้อประเด็น

-การนึกนิมิต
-สัณฐานและสีสันของนิมิต
-วิธีการนึกนิมิต
-บทบาทของอารมณ์ในการนึกนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ลงไปด้านล่าง จากเศียรของท่านลงไปที่หน้าตา แขน ตัก และขา จากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ เราสามารถจะสรุปออกมาได้อย่างนี้ว่า การนึกนิมิต สามารถแบ่งการนึกได้ตามลักษณะดังต่อไปนี้ คือ 1. สัณฐานหรือรูปร่างของนิมิต จะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ได้ขอเพียงเป็นสิ่งที่สามารถทำให้ใจ ของเราสบายและสงบ แต่ที่ท่านแนะนำก็คือ เป็นองค์พระ หรือดวงแก้ว 2. สีสันของนิมิตจะเป็นสีอะไรก็ได้ เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว แต่ที่แนะนำให้ใช้ก็คือ สีใส 3. ขนาดของนิมิตจะเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แล้วแต่ความชอบใจของคนนึก อาจนึกให้ครอบตัว หรือมีขนาดเล็กเท่าดวงดาวในอากาศก็ได้ 4. ตำแหน่งของการนึก ให้วางนิมิตไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ เราจะเห็นว่าข้อจำกัดของการนึกมีน้อยมาก แล้วแต่ความพอใจของคนปฏิบัติธรรม ขอเพียง ให้นึกถึงสิ่งนั้นให้ได้ต่อเนื่องเป็นลำดับไป 4.5 วิธีการนึกนิมิต การกำหนดนึกนิมิตตามที่ได้รวบรวมมาจากคำสอนของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มีแนวทางในการปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. นึกกำหนดนิมิต เป็น“ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสสนิท ปราศจากรอยขีดข่วน หรือ รอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นึกไปภาวนาไป อย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกถึงดวงแก้วกลมใส ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึก อย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา การนึกจะต่างจากการคิด เพราะการนึกคือการเริ่มต้นอย่างเบาๆ สบายๆ เพลินๆ ไม่มีการเร่งการลุ้น แต่การคิดจะเป็นการนึกที่หนักกว่าและมีขั้นตอน เมื่อนิมิตดวงใสและกลมสนิทปรากฏแล้ว ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่า นิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบายๆ แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ บทที่ 4 น ม ต แ ล ะ ก า ร น ก นิ มิต DOU 43
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More