การหลับตาและการทำสมาธิ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 29
หน้าที่ 29 / 93

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายวิธีการหลับตาที่ถูกต้องเพื่อช่วยในการทำสมาธิ โดยเน้นการไม่บีบตาและการรักษาความผ่อนคลายภายใน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดหัวและความเครียดในการปฏิบัติสมาธิ ในการหลับตาผู้ปฏิบัติควรระมัดระวังการเคลื่อนไหวของลูกนัยน์ตาและต้องรักษาองศาที่เหมาะสมเพื่อให้จิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกอย่างมุ่งเน้นที่การพัฒนาสมาธิและการมองเห็นภาพนิมิตภายในอย่างชัดเจน พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ให้ข้อแนะนำที่สำคัญเกี่ยวกับการฝึกสมาธิจนทำให้เห็นภาพในใจชัดเจนขึ้น ทำให้ผู้ฝึกสมาธิสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

- วิธีการหลับตา
- การปฏิบัติสมาธิ
- เทคนิคการผ่อนคลาย
- การมองเห็นภาพภายใน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมมุติว่าเราเอาอวัยวะภายในตั้งแต่มันสมองในกะโหลกศีรษะเรื่อยไปเลย ตับไตไส้พุง เอาออกไปให้หมด ให้เหลือเป็นที่โล่งๆ กลวงๆ เป็นโพรง เหมือนกับท่อน้ำกลวงๆ ที่ไม่มีตะกอนตะกรัน แล้วก็ให้นึกผ่อนคลายภายใน ให้ใสบริสุทธิ์ ประดุจเป็นท่อแก้ว ท่อเพชรใสๆ ใสบริสุทธิ์ทั้งด้านนอก และด้านใน” 1 2. วิธีการหลับตา การหลับตามีวัตถุประสงค์ไม่ให้เห็นภาพภายนอก ซึ่งจะพลอยทำให้ใจของเราฟุ้ง เหมือนเรา ปิดฉาก ปิดม่านของตา โดยมีวิธีการดังนี้ 1. หลับตาของเราเบาๆ คล้ายกับเวลาที่เรานอนหลับ โดยปิดผนังตาเพียงเบาๆ 2. อย่าเม้มตาแน่น อย่าบีบหัวตา และอย่ากดลูกนัยน์ตา หลับตาสักครึ่งลูก ปรือๆ สบายๆ หรือ หลับตาประมาณ 80-90% 3. การวางเปลือกตาให้เป็น ถ้าถูกส่วนแล้ว จะเป็นแค่แตะไม่ถึงกับติด แค่สัมผัสเบาๆ เหมือนปรือๆ ตา ถ้าหลับตาไม่เป็นไปบีบเปลือกตา แบบคนทำตาหยี จะทำให้ปวดศีรษะ มึนศีรษะ แล้วไม่ได้ผล 4. ลืมไปเลยว่าเรามีลูกนัยน์ตา ถ้าหลับตาได้อย่างนี้ จะทำให้เราเห็นภาพภายในได้ ในการหลับตา มีนักปฏิบัติสมาธิบางท่านไม่เข้าใจการปฏิบัติ โดยหลับตาแล้วบีบหัวตา ปิดเปลือกตา จนสนิทแน่น เพื่อที่จะไปเค้นให้เห็นภาพนิมิตได้ชัดเจน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหัวคิ้ว มีความรู้สึกคล้ายๆ มีแม่เหล็กติดไว้คนละขั้ว คือ คิ้วขมวดเข้าหากัน และจะเป็นสาเหตุของอาการมึน ตึงศีรษะ ปวดตา ตึงต้นคอได้ ทำให้นักปฏิบัติธรรมยิ่งนั่งก็ยิ่งหน้าตาแก่ลงไปทุกวันและทำให้เกิดอาการล้าจนรู้สึกไม่อยากปฏิบัติสมาธิต่อไป ทั้งนี้ก็เพราะว่าทำผิดวิธี นอกจากนี้ในการหลับตา นักปฏิบัติบางท่านก็พยายามใช้สายตามองลงไปในกลางท้อง เพื่อให้ เห็นภาพนิมิตในกลางท้องชัดเจน ซึ่งพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้ให้ข้อแนะนำไว้ว่า “เริ่มต้นตั้งแต่ปรับลูกนัยน์ตาต้องอยู่ในองศาเดิม อย่ากดลงไปโฟกัสไปที่ศูนย์กลางกายอย่างนี้ไม่ถูก คือพยายามที่จะโฟกัส ยิ่งกดลูกนัยน์ตา ยิ่งเครียด ยิ่งเพ่ง คิ้วจะขมวดเข้าหากัน แล้วก็เหนื่อย ไม่ได้ผลอะไรเพราะจิตมันหยาบ ความจริงเราไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร เหมือนเราเดินไป ตาเรามองไปข้างหน้า แต่เราสามารถ รู้ได้ว่าคนข้างๆ ผู้หญิงหรือผู้ชาย โดยทั้งๆ ที่เรามองเหมือนไม่ได้มอง ก็เลยยังมองอยู่ แต่มองด้วยจิตสำนึก ด้วยสำนึกลึกๆ มองผ่านอย่างนั้น ทั้งๆ ลูกนัยน์ตาอยู่ในองศาที่มองไปหน้า ดูคน ดูแผ่นป้าย ดูรถรา แต่เรารู้ว่าข้างๆ มีคนอยู่ ผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า มองอย่างนั้น มองผ่านๆ พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา 2 พฤษภาคม 2542 20 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More