คำอธิบายนิมิตในแง่ของการปฏิบัติ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 50
หน้าที่ 50 / 93

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้นำเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับนิมิตในการปฏิบัติธรรม นิมิตต่างๆ เช่น บริกรรมนิมิต, อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต และวิธีการเข้าถึงจิตที่สงบ โดยแบ่งประเภทของนิมิตที่ไม่ควรนึกถึงเพื่อไม่ให้ใจไม่สงบ รวมถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องในการสร้างใจที่สงบนิ่งและเข้าใจนิมิตที่เกิดขึ้น ข้อมูลนี้สะท้อนถึงแง่ลึกของการปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบในจิตใจจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธรรมเทศนา 21 กุมภาพันธ์ 2531 และ 20 มิถุนายน 2531 ซึ่งสามารถศึกษาต่อได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-บริกรรมนิมิต
-อุคคหนิมิต
-ปฏิภาคนิมิต
-นิมิตที่ไม่ควรนึกถึง
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำอธิบายนิมิตในแง่ของการปฏิบัติ 1. บริกรรมนิมิต' คือสิ่งที่เราสร้างขึ้น วาดมโนภาพขึ้นมา อย่างเช่นนึกถึงดวงแก้ว เราก็วาดมโนภาพ เป็นดวงกลมๆ ใสบริสุทธิ์ นี่ถ้านึกถึงพระแก้วในขั้นของบริกรรมนิมิต ก็เห็นตัวๆ ลางๆ เป็นเค้าเป็นโครง รูป ร่างของท่านไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ถ้าหากเราประคองไปเรื่อยๆ อย่างสบายใจ ภาวนาสัมมาอะระหังไปด้วย นึกถึงบริกรรมนิมิตไปด้วย ไม่ช้าบริกรรมนิมิตนั้นจะชัดเจนขึ้น ชัดในขั้นของอุคคหนิมิต 2. อุคคหนิมิต คือนิมิตที่เราจำลองจากข้างนอกเข้าไปสู่ข้างในลักษณะดวงแก้วข้างนอกเป็นอย่างไร ลักษณะดวงแก้วภายใน ในขั้นของอุคคหนิมิตก็จะเป็นอย่างนั้น คือชัดเจนได้ 100 เปอร์เซ็นต์เหมือนลืมตา เห็น ในขั้นที่ชัดเจนเหมือนลืมตาเห็น เรียกว่า อุคคหนิมิต 3. ปฏิภาคนิมิต พอถึงขั้นนี้ นิมิตจะขยายใหญ่ขึ้น แล้วนึกให้เล็กลง ก็เล็กได้ นึกขยายก็ขยายได้ เกิดขึ้นเมื่อใจหยุดนิ่งแน่น ร่างกายเหมือนถูกตรึงติดไว้กับพื้นไม่ขยับเขยื้อนใจไม่ซัดส่ายไปคิดเรื่องราวต่างๆ ตรึกติดกับภาพนิมิตนั้น จะเป็นดวงแก้วก็ตามหรือองค์พระก็ตามตรึงติดแน่นเลย สมาธิระดับนี้ ถ้านึกนิมิต เป็นดวงแก้วก็จะใส สว่าง มีแสงออก มีรัศมีออกมา สว่างเจิดจ้า นุ่มนวลฟ้องเบาเหมือนฟองสบู่อย่างนั้น ถ้าเป็นองค์พระก็จะสุกใส ใสยิ่งกว่าเพชร สว่างจนกระทั่งเท่าดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวันหรือยิ่งกว่านั้น ในขั้นของบริกรรมนิมิตนั้นยังฝืนอยู่ พอถึงขั้นอุคคหนิมิตจะไม่ฝืน จะเริ่มชอบ พอขั้นปฏิภาคนิมิต จะมีความสนุก มีความเพลิน ใจก็เป็นหนึ่งที่เรียกว่า เอกัคคตา ไม่ซัดส่ายไปที่อื่น ไม่มีความคิดอื่นผ่านเข้า มาในใจ จะมีแต่นิมิตที่สุกใสสว่าง มีชีวิตขึ้นมาทันที 4.3 นิมิตที่ไม่ควรนึกถึง นิมิตที่ไม่ควรนึกถึงคือสิ่งที่เรานึกถึงแล้วทำให้ใจของเราไม่สงบ และทำให้ใจเลื่อนลอยออกจาก ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ถือเป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่ใช่ของจริง เราสามารถแบ่งนิมิตเหล่านั้นออกง่ายๆ ได้ 3 ประเภทคือ 1. ภาพที่เกี่ยวกับกาม นึกแล้วทำให้ใจเกิดความกำหนัดยินดี อย่างเช่นการที่บางคนนึกถึง แฟนสาว หรือภาพอนาจารต่างๆ 2. ภาพที่เกี่ยวกับพยาบาท นึกแล้วทำให้ใจเกิดโทสะ ความโกรธหรือทำให้เกิดความแค้นเคือง อย่างเช่น ภาพคนที่เป็นคู่เวรคู่อาฆาตกัน ภาพสิ่งของที่เราไม่ชอบ 3. ภาพเกี่ยวกับการเบียดเบียน ที่นึกขึ้นแล้วทำให้เราเกิดอารมณ์ในทางเบียดเบียนให้ผู้อื่นและ 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธรรมเทศนา 21 กุมภาพันธ์ 2531 * พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธรรมเทศนา 20 มิถุนายน 2531 บ า ที่ 4 น ม ต แ ล ะ ก า ร น ก นิ มิต ท DOU 41
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More