ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. จิตฺตนิคฺคโห ข่มจิตในเวลาควรข่ม คือถ้าเห็นว่าจิตใจฟุ้งซ่าน เพราะศรัทธา วิริยะ ปัญญากล้า
ต้องข่มจิตไว้ด้วยการเจริญธรรมะ 3 ประการ คือ
1) ปัสสัทธิ หลับตา ใจให้สงบจากความโลภ ความโกรธ และความหลง
2) สมาธิ ทำจิตของตนให้ตั้งมั่น
3) อุเบกขา วางเฉยจากอารมณ์เรื่องราวกวนใจต่างๆ
6. เวลาใดรู้สึกว่ามีความเบื่อหน่ายในการเจริญภาวนา เวลานั้นควรปลูกความเชื่อ เลื่อมใส
ในการเจริญภาวนา เพื่อยังจิตใจให้ร่าเริงโดยนึกถึงสังเวควัตถุคือเรื่องที่ทำให้เกิดความสังเวชสลดใจได้แก่การ
พิจารณาเห็นทุกข์ต่างๆ แล้วสลดหรือนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
7. เวลาใดจิตใจไม่มีการท้อถอย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เบื่อหน่ายในการเจริญภาวนา เวลานั้นควร
ประคองใจไว้ให้นิ่งเฉย โดยไม่ต้องยกจิต ข่มจิต และทำจิตใจให้ร่าเริงแต่อย่างใดทั้งสิ้น
8. อสมาหิตบุคคลปริวชฺชน์ เว้นจากบุคคลที่มีจิตใจไม่สงบ มีความประพฤติเหลาะแหละ
วอกแวก ไม่มั่นคงในการงาน เตร็ดเตร่เที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ
9. จงคบหาสมาคมกับผู้ที่มีความประพฤติมั่นคง ไม่จับจด มีจิตผ่องใส ตั้งมั่น
10. จงน้อมใจอยู่แต่ในเรื่องฌานสมาธิ คือมีความพยายาม ดูนิมิต สืบต่อเนื่องกันอยู่เรื่อยๆ
ไม่ขาดสาย
นอกจากบำเพ็ญ “อัปปนาโกศล” 10 ประการแล้ว ให้ระวัง “อุปกิเลส” ของสมาธิ 11 ประการ
ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการประคองใจรักษานิมิตดังนี้ คือ
1. วิจิกิจฉา
2. อมนสิการ
3. ถีนมิทธะ
4. ฉิมภิตัตตะ
5. อุพพิละ
6. ทุฏจุลละ
7. อัจจารัทธวิริยะ
8. อติลีนวิริยะ
ความลังเล หรือความสงสัย
ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี
ความท้อ และความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน
ความสะดุ้งหวาดกลัว
ความตื่นเต้นด้วยความยินดี
ความไม่สงบกาย ความคะนองหยาบ
ความเพียรจัดเกินไป
ความเพียรย่อหย่อนเกินไป
บ ท ที่ 6 ก า ร รั ก ษ า ส ม า ธิ DOU 71