ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.3 คำภาวนาที่ใช้
ในการใช้คำภาวนาในการทำสมาธิ มีคำภาวนาให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆ
สัมมาอะระหัง ยุบหนอ พองหนอ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคำล้วนมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ เป็นอุปกรณ์
เพื่อช่วยให้ใจหยุด ซึ่งในการใช้คำภาวนาแต่ละอย่างนั้น ส่วนใหญ่ผู้ปฏิบัติมักจะเลือกใช้ถ้อยคำ
ที่ได้ยินได้ฟังแล้ว ทำให้ใจสงบ หยุดนิ่ง คือ เป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ดีงาม เช่น พระพุทธเจ้า
หรือเป็นถ้อยคำที่ทำให้สติอยู่กับเนื้อกับตัว เช่น ยุบหนอ พองหนอ แม้ว่าคำภาวนาจะมีมากมาย แต่
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ท่านได้เลือกและให้ใช้คำว่า “สัมมา อะระหัง”
5.4 เหตุผลที่ใช้คำว่า สัมมา อะระหัง
พระมงคลเทพมุนีสอนให้บริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหัง เป็นบทพุทธคุณ การที่ใช้คำนี้ เป็นพุทธานุ
สติในการเจริญสมาธิ เพราะพุทธานุสตินี้เป็นธรรมประการต้นที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี สนใจปฏิบัติ
และสอนสานุศิษย์เป็นพิเศษ ทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องให้ใจระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะ
พุทธานุสติเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิตสว่าง ให้จิตมีกำลัง มีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรมสืบต่อไป
ธรรมดาจิตของบุคคลถ้าไม่มีอะไรยึดแล้ว จิตจะคอยแต่ฟุ้งซ่าน ทำให้สงบอยู่ไม่ได้ จึงต้อง มี
พุทธคุณยึด เมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ในการรักษา เพราะพุทธานุภาพ
ย่อมรักษาคนที่มีสติระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิตย์ ดังพุทธภาษิตว่า
สุปปพุทธ์ ปทุชฺฌนฺติ
เยส์ ทิวา จ รตฺโต จ
สทา โคตมสาวกา
นิจฺจํ พุทธคตา สติ
แปลว่า สติที่ไปในพระพุทธเจ้ามีแด่พระสาวกของพระโคดมเหล่าใดทั้งวันทั้งคืน พระสาวก
ของพระโคดมเหล่านั้นจะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม ชื่อว่า ตื่นแล้วด้วยดี
อาศัยเหตุนี้พุทธานุสติจึงเป็นคุณธรรมที่ทำให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นประการแรก
ดังนั้นพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีจึงสนใจ และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านเตือนพุทธบริษัทเสมอๆ
ว่าอย่าให้เป็นคนว่าง ควรมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้จะยังไม่บรรลุอริยผลเบื้องสูงก็ตาม
แม้เมื่อละโลก ก็มีสุคติเป็นที่ไป ดังพุทธพจน์ว่า
เยเกจิ พุทฺธ์ สรณ์ คตา เส
ปหาย มนุสฺสํ เทห์
น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมิ
เทวกาย์ ปริปูเรสสนฺติ
แปลว่า ชนเหล่าใดถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นแลจักไม่ไปสู่อบาย เมื่อเขาละ
ร่างกายนี้แล้วก็จะไปเพียบพร้อมอยู่ในเทวสมาคม
บทที่ 5 การ ใช้ คำ ภ า ว น า
DOU 51