การพูดและการสนทนาในปฏิบัติธรรม MD 102 สมาธิ 2 หน้า 77
หน้าที่ 77 / 93

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงหลักการพูดและการสนทนาในขณะปฏิบัติธรรม โดยเน้นว่าการสนทนาในด้านบวกช่วยเสริมสร้างสมาธิและบารมี ดังนั้นนักปฏิบัติควรเลือกพูดแต่ในเรื่องที่เหมาะสม เช่น การพูดถึงการทำความดีและการรักษาศีล ส่วนบุคคลที่ไม่สุภาพไม่ควรเข้ามาใกล้เพื่อไม่ให้กระทบต่อจิตใจของผู้ปฏิบัติ การสนทนาควรมีความพอประมาณเพื่อรักษาสมาธิและความสงบอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในบทความยังแบ่งประเภทของบุคคลที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการสนทนาเพื่อช่วยให้การปฏิบัติธรรมมีประสิทธิผลมากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-กถาวัตถุ 10 ประการ
-การพูดในการปฏิบัติธรรม
-บุคคลที่สมควรและไม่สมควรในการสนทนา
-สมาธิและผลของการปฏิบัติ
-ความสำคัญของการพูดที่เหมาะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ยินดีในทรัพย์ที่ได้มาโดยบริสุทธิ์ 3) พูดเรื่องความสงัดทางกาย วาจา ใจ คือ การหลีกเร้นเข้าหาที่วิเวกในการปฏิบัติธรรม เช่น เดินทางไปปฏิบัติธรรมนอกสถานที่ เช่น ในถ้ำ ในป่าหรือรีสอร์ท เป็นต้น 4) พูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับกามคุณอารมณ์ เรื่องเพศ เรื่องกาม 5) พูดเรื่องการขยันหมั่นเพียรในการทำความดี ในการสร้างบารมี 6) พูดเรื่องศีลที่ตนหรือผู้อื่นรักษาในทางสรรเสริญยกย่อง 7) พูดเรื่องสมาธิ คือพูดเรื่องการทำสมาธิ ผลของการปฏิบัติธรรม 8) พูดเรื่องปัญญา อาจเป็นธรรมะที่ได้ฟังมาจากพระอาจารย์ 9) พูดเรื่องวิมุตติ คือ พูดเรื่องผลการปฏิบัติของผู้เข้าถึงสภาวธรรมภายในเพื่อเป็นกำลังใจใน การปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้น 10) พูดเรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ กถาวัตถุ 10 ประการดังกล่าวมาแล้วนี้ แม้จะเป็นถ้อยคำที่ไม่ขัดกับมรรคผลนิพพานแต่ประการใด ก็จริง สำหรับนักปฏิบัติไม่ควรพูดมาก ควรพูดแต่พอประมาณ เพื่อจะได้รักษาสมาธิและปฏิภาคนิมิต ดังนั้น ท่านอรรถกถาจารย์จึงได้สั่งไว้ว่า แม้เป็นกถาวัตถุ 10 ก็ตาม ก็จง พูดแต่พอประมาณ อย่าให้มากเกินไปนัก 6.4 บุคคลที่ไม่สมควรและสมควร บุคคลที่ไม่สมควรแก่การเข้าไปสนทนาปราศรัยในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น มีอยู่ 2 จำพวก คือ 1) บุคคลที่มีปกติชอบบำรุง ประคบประหงม ตกแต่งร่างกาย เพื่อให้เกิดความกำหนัดยินดี แก่ฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้ตกแต่งตนเพื่อมุ่งให้เกิดความน่าเลื่อมใสของใจ 2) บุคคลที่มีปกติชอบคุยชอบพูดแต่ในติรัจฉานกถา 32 ทั้ง 2 จำพวกนี้ย่อมทำให้ใจของผู้ปฏิบัติ เกิดความหม่นหมองไม่สงบ เพราะฉะนั้นบุคคลจำพวกนี้จึง จัดเป็นบุคคลที่ไม่ควรเข้าใกล้ บุคคลที่สมควรแก่การเข้าไปสนทนาปราศรัยในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น ก็มีอยู่ 2 จำพวก คือ 1) บุคคลที่มีปกติไม่ใคร่คุยไม่ใคร่พูด ในเรื่องติรัจฉานกถา 2) บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ และปัญญา 68 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More