การหยุดนิ่งและการวางใจในสมาธิ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 89
หน้าที่ 89 / 93

สรุปเนื้อหา

การหยุดนิ่งอารมณ์จะทำให้เราได้รับความสบายและความสุข ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเราฝึกสังเกตใจของเราเอง โดยการวางใจให้พอดี ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป การสัมผัสแผ่ว ๆ สามารถช่วยให้ใจเราขยายออกได้เหมือนวงระลอกน้ำ วิธีสังเกตการวางใจก็สำคัญ โดยมีลักษณะ 3 ประการ คือ วางใจเบาเกินไปจะขาดสติ วางใจหนักเกินไปจะเกิดความเครียด และการวางใจที่พอดีจะทำให้มีความสุข โดยในแต่ละกรณีควรมีการปรับอารมณ์ให้เหมาะสมเพื่อเข้าสู่สมาธิและความสุขที่แท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การหยุดนิ่งอารมณ์
-การวางใจในสมาธิ
-การฝึกสังเกตใจ
-ลักษณะการวางใจ
-อารมณ์เบาสบาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. อารมณ์ที่จะหยุดนิ่งจะคล้ายๆ กับตอนใกล้จะหลับ หรือเหมือนตื่นจากหลับ ต่างแต่ว่าถ้าหลับ ขาดสติ แต่ถ้าหยุดนิ่งอารมณ์จะละเอียด มีสติ เบาสบาย ไม่ได้คิดเรื่องอะไร ปล่อยวางจากอารมณ์อื่น ทั้งหมด ดังนั้นก่อนจะหลับ กับเมื่อตื่นนอน ให้ลองสังเกตและประคองใจเราให้นิ่งๆ เฉยๆ อย่างสบายๆ เดี๋ยวจะเปลี่ยนจากกำลังจะหลับ มาตื่นตัวภายใน จะสดชื่น เบิกบาน ใจจะขยาย สบาย จะเป็นความสบาย ที่เราชอบแม้ไม่เห็นอะไร 4. ให้แตะแผ่วๆ เข้ากลางของกลาง นิ่งๆ พอเราวางใจได้ถูกส่วน ใจของเราจะขยายกว้าง ออกไปเองโดยอัตโนมัติ คล้ายๆ กับเอาก้อนกรวดโยนลงไปในน้ำ แล้วน้ำก็จะเป็นระลอกออกไปโดยรอบ เป็นวงกลม ขยายออกไป กว้างออกไป จนกระทั่งสุดแรงของมัน 4) วิธีสังเกตการวางใจ การวางใจมี 3 ลักษณะ คือ 1. วางใจเบาเกินไป 2. วางใจหนักเกินไป 3. วางใจพอดีๆ เบาสบาย มีความสุข วิธีสังเกต คือ 1. วางใจเบาเกินไป หรือวางใจหย่อนเกินไป จะขาดสติ เผลอเรื่อยไปคิดเรื่องอื่น ปล่อย ให้เรื่อง ราวต่างๆ เข้ามาแทรกหรือปล่อยให้ฟุ้งเคลิ้ม สาเหตุที่วางใจเบา เพราะยังไม่รู้ว่าจะวางที่ตรงไหน ใจไม่มีที่ เกาะ นั่งไปสักพักจะรู้สึกง่วงหรือเคลิ้มๆ ให้ลองขยับเนื้อขยับตัว สูดลมหายใจลึกๆ หรือภาวนาถี่ๆ จนหาย ง่วง หรือกำหนดนิมิตให้ใสสว่าง ถ้ายังไม่หายให้ลืมตา แล้วหลับตาทำสมาธิต่อ ถ้าไม่หายจริงๆ ควรลุกไป เดิน ล้างหน้าล้างตา แล้วกลับมาทำสมาธิต่อ 2. วางใจหนักเกินไป คือตั้งใจมากเกินไป ความตั้งใจจะทำให้เกิดความเพ่ง ความเพ่งจะก่อให้เกิด ความตึงเครียด ให้เอาร่างกายของเราเป็นเกณฑ์ ตัวของเราเป็นครูอย่างดี ถ้าตึงเกินไปจะรู้สึกเครียด คือ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดกระบอกตา จะดึงไปหมดทั้งร่างกาย ต้นคอหัวไหล่ทั้งหมด หรือ บางท่าน เห็นนิมิตแล้ว แต่รู้สึกว่าไม่มีประสบการณ์ใหม่ๆ แสดงว่า วางใจหนักเกินไป หรือเผลอกดใจควรปรับใจ ด้วยอารมณ์สบาย คลายความตั้งใจ หาอารมณ์สบาย 3. วางใจพอดี ถ้าวางใจพอดีจะไม่ตึงไม่หย่อน ไม่มีอาการเครียดทางร่างกาย และไม่มีอาการ เผลอสติ ใจจะเบาสบาย มีความสุขทุกครั้งที่นั่ง แม้บางครั้งไม่เห็นอะไร การวางใจพอดี เกิดจาก 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 5 มิถุนายน 2545 * พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 11 มีนาคม 2530. 80 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More