ข้อความต้นฉบับในหน้า
6.1 ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
มีข้อแนะนำว่า ผู้ปฏิบัติเข้าไปพักอาศัยอยู่ในสถานที่ใด นิมิตที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็สูญหายไป สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏขึ้น จิตใจที่ยังไม่สงบ ยังไม่ตั้งมั่น ก็ยังคงไม่มั่นคงเหมือนเดิม
สถานที่เหล่านั้นเป็น “อสัปปายะ” ไม่เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติ
ส่วนสถานที่ใด ผู้ปฏิบัติเข้าไปพักอาศัยอยู่แล้ว นิมิตที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งมั่น
อยู่ได้ไม่หายไป สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏขึ้น จิตใจที่ยังไม่สงบไม่ตั้งมั่น ก็มีความสงบตั้งมั่นได้ สถานที่
เหล่านั้นเป็น “สัปปายะ” แก่ผู้ปฏิบัติ
สถานที่อยู่จึงมีผลต่อความละเอียดของใจ ลักษณะของพื้นที่ที่เป็นสัปปายะมีข้อแนะนำ
ดังต่อไปนี้ คือ
1. ความสะอาดของสถานที่ปฏิบัติธรรม
สถานที่ที่สะอาดจะมีผลทำให้สภาพจิตใจผ่องใสมากขึ้น ผู้ปฏิบัติธรรมควรเลือกสถานที่
หรือควรทำสถานที่ที่อยู่นั้นให้สะอาด เพราะจะมีผลทำให้จิตใจของเราสะอาด คือสะอาดทั้งภายนอกและ
สะอาดทั้งภายใน
ดังตัวอย่างที่เราจะพบได้จากคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ที่ท่านมี
คุณธรรมในการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสูง โดยอาคาร สถานที่ สิ่งของของท่านทุกอย่าง
จะมีความสะอาดทุกด้าน ตั้งแต่ด้านบนหลังคาจนถึงใต้ถุนบ้าน นิสัยความรักในการทำความสะอาด
ทำให้จิตใจของท่านหยุดนิ่งได้ง่าย
2. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ปฏิบัติธรรม ควรเลือกหรือควรดูแลสถานที่
ให้มีความเป็นระเบียบ ไม่รกรุงรัง ซึ่งจะทำให้จิตใจผ่องใสขึ้น
6.2 สถานที่ควรไป (โคจร) และไม่ควรไป (อโคจร)
โคจร คือ บุคคลหรือสถานที่ที่บุคคลควรไปมาหาสู่ หมู่บ้านหรือท้องถิ่นที่เข้าไปแล้วมีผลทำให้กิเลส
ที่นอนเนื่องอยู่ภายในเกิดพุ่งขึ้น ใจที่ไม่สงบจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นเหตุนำความ
เศร้าหมองมาสู่ใจนานาประการ สถานที่นั้นเป็นสถานที่ไม่ควรไป
สำหรับสถานที่ที่ไม่เหมาะแก่นักปฏิบัติสมาธิในการเข้าไปอันจะเป็นเหตุให้ธรรมะหายไป คือแหล่ง
ของสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้ง 6 ประการ ได้แก่
บ ท ที่ 6 ก า ร รั ก ษ า สมาธิ DOU 61