เทคนิคการวางใจและการปฏิบัติธรรม MD 102 สมาธิ 2 หน้า 93
หน้าที่ 93 / 93

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงเทคนิคการวางใจในการปฏิบัติธรรม โดยแนะนำให้ฝึกจิตในทุกกิจกรรมประจำวัน เพื่อเข้าถึงศูนย์กลางกายและสร้างสภาวะจิตที่เยือกเย็น การวางใจเป็นศิลปะที่ต้องฝึกฝนเพื่อให้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง การสังเกตตัวเองและแก้ไขข้อบกพร่องของใจจะช่วยให้สามารถเข้าถึงความสบายและโล่งโปร่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-เทคนิคการวางใจ
-ศูนย์กลางกาย
-การปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพ
-การฝึกจิตในชีวิตประจำวัน
-การสังเกตและแก้ไขข้อบกพร่องของใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8. ทุก 1 ชั่วโมง ขอ 1 นาที เพื่อหยุดใจ นึกถึงดวง องค์พระ หรือทำใจนิ่งๆ ว่างๆ ที่ศูนย์กลาง กายฐานที่ 7 9. ทุกกิจกรรมตั้งแต่ตื่นนอน ไม่ว่าจะเป็นการล้างหน้า อาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร ล้างจาน กวาดบ้าน ออกกำลังกาย ขับรถ ทำงานให้นึกถึงดวง หรือองค์พระไปด้วย 10. สร้างบรรยากาศให้ดี สดชื่น ด้วยรอยยิ้มและปิยวาจา 7.7 ผลเสียจากการวางใจไม่เป็น การวางใจนี่สำคัญมาก ถ้าใครวางใจไม่เป็น สิบปีก็ไม่ได้ผล บางคนตลอดชีวิตไม่พบเลย แสง สว่างเป็นอย่างไร เพราะการเข้าถึงธรรมจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย อยู่ที่ว่าเราวางใจได้ถูกส่วน วาง กันเป็นหรือเปล่า ทั้งนี้เพราะศูนย์กลางกายก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในตัว การวางใจจึงถือเป็นศิลปะ คือต้องรู้จักใช้ รู้จักทำ เหมือนแม่ครัว ผู้มีศิลปะในการปรุงอาหาร ที่รู้จักปรุงอาหารให้น่าเคี้ยวน่ากิน ใจของเราก็เช่นกัน ควรปรับปรุงศูนย์กลางกายให้ยอมรับ โดยให้ใจป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ศูนย์กลางกาย แล้วก็จะคุ้นเคย และยอมรับ ใจของเราได้ เสียเวลา ถ้าเราไม่ฝึกจรดใจที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้ ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นตรวจตราดูตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้สิ่งที่เศร้าหมองเข้ามา เคลือบแคลงแฝงในจิตใจของเรา ให้ใจใส เยือกเย็น สังเกตว่าทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงตรงจุดที่สบาย โล่ง โปร่ง เบา สังเกตแล้วทำให้ได้ ให้หมั่นสังเกตว่าเรามีข้อบกพร่องอะไร ทำไมใจถึงไม่หยุด พบแล้วต้องแก้ไข เมื่อทำได้เช่นนี้ เราจะก็สมหวังในการปฏิบัติธรรม กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 7 เทคนิคการวางใจ จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 7 และกิจกรรม 1 และ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 7 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 24 มกราคม 2536. 84 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More