การปรับท่านั่งเพื่อการปฏิบัติธรรม MD 102 สมาธิ 2 หน้า 30
หน้าที่ 30 / 93

สรุปเนื้อหา

ในระหว่างการปฏิบัติธรรม การนั่งท่าสบายเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติ ทุกคนควรฝึกสังเกตและทำความเข้าใจท่านั่งที่เหมาะสม ซึ่งการนั่งควรมีความมั่นคง ผ่อนคลาย เพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อหน่ายหรือเมื่อยล้า การปรับท่านั่งอย่างถูกวิธีจะทำให้สามารถนั่งได้นานโดยไม่รู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำในการเคลื่อนไหวในกรณีที่รู้สึกเมื่อย หรือใครที่ไม่ถนัดนั่งในท่ามาตรฐานสามารถเลือกใช้ท่าอื่นที่รู้สึกสบาย เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปอย่างดี

หัวข้อประเด็น

-การนั่งท่าสบาย
-การปรับท่านั่ง
-การปฏิบัติธรรม
-แนวทางการปฏิบัติ
-การทำความรู้สึกกับจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะฉะนั้น เวลาเราหลับตา อย่ากดลูกนัยน์ตา ถ้าเราไม่ฟังผ่าน หรือฟังจนลืมฟัง คำๆ นี้ จะมีความหมายมาก คือลูกนัยน์ตาจะอยู่ที่เดิม อยู่ในระดับที่เหมือนเรามองไปข้างหน้า แต่เราปิด แล้วก็ทำความรู้สึกของใจด้วยสำนึกที่ละเอียดอ่อน มองเหมือนไม่ได้มอง แต่ว่าไม่ได้มองก็เหมือนมอง คล้ายๆ มีละอองดาวเล็ก หรือเพชรใสๆ ที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลมากจนกระทั่งเราไม่กล้าที่จะไปแตะต้อง ไปสัมผัส มันมีคุณค่ามากเหลือเกิน คือเราไม่สามารถไปแตะต้องได้ถึง จึงได้แต่มองผ่านๆ” ในเรื่องของการหลับตานี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ไม่ควรมองข้ามเพราะนักปฏิบัติบางท่าน ติดอยู่ที่ตรงนี้ บางทีเป็นสิบปี ยี่สิบปี ทำให้รู้สึกว่าปฏิบัติแล้วไม่ได้อะไร เพราะฉะนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกต และค่อยๆ ฝึกปฏิบัติกันต่อไป 3. วิธีการปรับท่านั่ง 1. ในการนั่ง ให้นั่งตั้งกายตรงมั่นคงประดุจขุนเขาที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ไม่โยกไม่คลอน แม้จะมีลม มาปะทะทั้ง 4 ทิศ หรือรอบทิศก็ไม่หวั่นไหว การที่นั่งได้เช่นนี้ ถือว่าเป็นท่านั่งที่ถูกส่วน คือ ไม่ง่อนแง่น ไม่โยกคลอน แต่ผ่อนคลายสบายหมดทุกส่วน และจะทำให้นั่งได้นาน 2. ปรับท่านั่งให้สบาย จนมีความรู้สึกว่า นั่งแล้วเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ท่านั่งที่สบาย หมายความว่า เราจะนั่งไปนานเท่าไรก็ได้ โดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่เมื่อย ไม่มึน ไม่ซึม 3. เวลานั่งต้องทำความรู้สึกว่า เรามานั่งผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่มาตั้งท่าทำสมาธิ เพราะเราใช้ร่างกายมานาน เวลานั่งต้องผ่อนคลายร่างกายให้สบาย ซึ่งท่านั่งของแต่ละคนจะเหมาะสมกับ แต่ละคน ของใครของท่าน ถ้าตั้งใจมากเกินไป จะเอาท่าสวย จะทำให้เกิดความตึงเครียด นั่งแล้วไม่ได้ผล 4. ในกรณีที่นั่งไปแล้วรู้สึกว่าเมื่อย ชา ให้ขยับ เช่น ยกเข่าซ้าย/ขวา ขึ้นจากพื้นเล็กน้อยเพื่อ ให้ เลือดไหลเวียน หรือเปลี่ยนอิริยาบท ขยับมานั่งขัดสมาธิชั้นเดียว หรือนั่งพับเพียบ อย่างไรก็ได้ แต่อย่า ปล่อยให้เมื่อยมากแล้วขยับ เพราะใจจะหลุดจากกลางมาที่ร่างกายส่วนที่เมื่อย หรือชา ก่อนขยับควร ทำความรู้สึกว่า ใจอยู่ตรงกลาง แต่ถ้ารู้สึกว่านั่งแล้วกำลังดีใจละเอียดเป็นสมาธิมาก ถ้าขยับแล้วใจจะไม่นิ่งและถอยหยาบออกมา ให้ใช้การปรารภความเพียรทำต่อไปก็ได้ เหมือนกับที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีปฏิบัติ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2460 จนกระทั่งเข้าถึงธรรม 5. สำหรับท่านที่ไม่ถนัดในการนั่งขัดสมาธิในท่ามาตรฐาน ให้นั่งในอิริยาบถที่สบาย คือนั่งอย่างไร ก็ได้ ให้มีความรู้สึกว่าเลือดลมเดินได้สะดวก เช่น จะนั่งด้วยท่านั่งขัดสมาธิชั้นเดียวก็ได้ หรืออาจจะหา อาสนะหรือหมอนมารองก้นก็ได้เพื่อช่วยไม่ให้ปวดหลัง หรือจะนั่งพิงข้างฝา นั่งห้อยเท้าหรือ พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา วันที่ 9 ตุลาคม 2545 บ ท ที่ 2 ก า ร ป รั บ ก า ย DOU 21
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More