ข้อความต้นฉบับในหน้า
7.4 วิธีการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย
การวางใจด้วยการทำใจให้หยุด นิ่ง เฉยๆ ณ ฐานที่ 7 มีวิธีการในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
7.4.1 การวางใจเมื่อใจยังไม่หยุด
1) สํารวจทางเดินของจิต
ในการวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย บางครั้งเป็นการยากสำหรับผู้ฝึกใหม่ เพราะไม่รู้ว่า ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ 7 อยู่ ณ จุดใด และในการฝึกใจมักมีเรื่องคิดต่างๆ มากมาย ทำให้ไม่สามารถวางใจเฉยๆ ณ
ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้ จึงต้องใช้วิธีการวางใจ ณ ฐานต่างๆ เพื่อให้ใจสงบ จนกระทั่งสามารถวางใจไว้
ณ ฐานที่ 7 ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“เรามาเริ่มสำรวจดูฐานทั้ง 7 ฐาน โดยเริ่มจากฐานที่ 1 ก่อนว่า ใจเราทำความรู้สึกตรงฐานไหน
ถึงจะสบาย ถ้าสมมุติว่าเราเริ่มปากช่องจมูกฐานที่ 1 โดยไม่ต้องไปคำนึงถึงหญิงซ้าย ชายขวา นิ่งๆ ไว้
ลองดูว่าสบายไหม ถ้าไม่สบาย เลื่อนเปลือกตาขึ้นมาดู ฐานที่ 2 แบบปรือๆ ตานะ ปรือๆ อย่าปิดสนิท
ดูฐานที่ 2 ลองดูว่าสบายไหม ถ้าใครสบายฐานไหนเอาตรงนั้นนะ ถ้าสบายเราก็อยู่ตรงนี้ นิ่ง
จะภาวนา สัมมาอะระหัง ด้วยก็ได้ ไม่ภาวนาก็ไม่เป็นไร ถ้าฐานที่ 2 ยังไม่สบาย ค่อยๆ เหลือบ เหลือบตา
เหลือกค้างขึ้นไป เหมือนเรามองเกาะขอบหน้าผาก เรื่อยขึ้นไป ไปลองอยู่ถึงฐานที่ 3 ไหม ลองดู เพราะ
ฐานที่ 3 อยู่กลางกั๊กศีรษะระดับเดียวกับหัว ถ้าไม่ถึง มันอยู่กลาง อยู่ด้านบนศีรษะ ก็อยู่ตรงนั้นก่อน
หรือค่อนสุดตรงไหล่ผม สมมุติไปได้แค่นั้น ก็ให้เอาตรงนั้นก่อน นิ่งเฉยๆ ถ้าสบายก็อยู่ตรงนั้นไปเรื่อยๆ
เดี๋ยวมันก็มาลงเอง เพราะเป้าหมายสุดท้ายเราคือ เราจะเอาใจมาวางไว้ฐานที่ 7 แต่เราเริ่มต้นจากฐาน
ที่ 1, 2 เอาพอถึง ได้แค่ 2 ครึ่ง ไม่ถึง 3 เอาแค่ 2 ครึ่ง ก็เฉยๆ อยู่ตรงนั้นไปก่อน
ถ้ารู้สึกโปร่ง ก็เลื่อน สมมุติเลื่อนมาฐานที่ 3 มากลางกศีรษะได้ก็อยู่ อยู่ตรงนั้น นิ่ง ใครชอบ
ฐานที่ 4 ก็เลื่อนมา ถ้ารู้สึกว่า ฐานที่ 4 สบาย เพดานปาก ช่องปากที่อาหารสำลัก ก็อยู่ตรงนี้ นิ่งเฉย ๆ
ใจใสๆ ภาวนา สัมมาอะระหัง ก็ได้ ไม่ภาวนาก็ไม่เป็นไร
แล้วลองค่อยๆ เลื่อนมาฐานที่ 5 ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก เริ่มยาก ไม่เป็นไร ปล่อยไป
กลางท้องเหมือนกลืนเข้าไปอยู่กลางท้อง ตรงฐานที่ 6 เพราะฐานที่ 6 กับ 7 มันใกล้กัน มันห่างกันแค่ 2
นิ้วมือ ถ้าฐานที่ 6 ได้ 7 ก็ได้ มันใกล้กัน เราก็ทึกทักเอาก็แล้วกัน ฐานที่ 7 นิ่ง ใช่เลย ประมาณนี้เลย
นิ่งเฉยอยู่ตรงนี้”1
- พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 24 มิถุนายน 2545.
78 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า