การปฏิบัติสมาธิและอัปปนาโกศล 10 ประการ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 79
หน้าที่ 79 / 93

สรุปเนื้อหา

การปฏิบัติสมาธิเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเจริญภาวนาในทุกอิริยาบถ ผู้ปฏิบัติควรสังเกตอิริยาบถที่เหมาะสม และปฏิบติตามอัปปนาโกศล 10 ประการเพื่อสร้างความก้าวหน้าในวงการภาวนา โดยเริ่มจากการชำระร่างกายและเครื่องนุ่งห่มให้สะอาด สร้างสมาธิ และประคองจิตใจด้วยธรรมะที่ดี รวมทั้งการรักษานิมิตให้กระตือรือร้นและเคารพต่อการปฏิบัติอย่างมีวินัยและมีสมาธิที่มั่นคง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาจิตใจและเข้าถึงภาวะ “ปฐมมรรค” หรือ “ปฐมฌาน” ในการเจริญสมาธิและการปฏิบัติธรรม สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- การปฏิบัติสมาธิ
- อิริยาบถที่เหมาะสม
- อัปปนาโกศล 10 ประการ
- การรักษานิมิต
- การประคองจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อนึ่ง ในการปฏิบัติ จริงๆ แล้วต้องปฏิบัติเจริญภาวนาทุกๆ อิริยาบถอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าหาก เราอยู่ในอิริยาบถใดแล้วสัปปายะแก่การทำสมาธิ ก็ให้อยู่ในอิริยาบถนั้นมาก อิริยาบถอื่นๆ ก็ลดลงตามส่วน อิริยาบถที่สัปปายะแก่บุคคลส่วนใหญ่ คือการนั่ง เพราะสามารถอยู่ในท่านั่งได้นานที่สุด โดยมีสติมั่นคงเป็นสมาธิดีที่สุด และหากนั่งขัดสมาธิไประยะหนึ่งแล้วเกิดอาการเมื่อย ก็อาจเปลี่ยนเป็น นั่งพับเพียบได้ตามสมควรแก่สัปปายะ ผู้ปฏิบัติที่กำลังประคองรักษานิมิตอยู่ โดยเว้นจากอสัปปายะ 7 แล้วเสพสัปปายะ 7 ประการ ตามที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ บางท่านก็เข้าถึง “ปฐมมรรค” หรือ “ปฐมฌาน” ได้ แต่หากว่าบางท่านยังไม่เข้าถึง พึงบำเพ็ญ “อัปปนาโกศล” 10 ประการให้เกิดขึ้นในตนอย่างบริบูรณ์ อัปปนาโกศล 10 อัปปนาโกศล 10 ประการ มีดังต่อไปนี้ 1. จงชำระร่างกายและเครื่องนุ่งห่มให้สะอาด ตลอดจนทำการปัดกวาดเช็ดถูสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ให้หมดจด สะอาดสะอ้าน แล้วจัดวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดูเย็นตา 2. กระทำอินทรีย์ทั้ง 5 มีศรัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิ ให้เสมอกันในหน้าที่ของตนๆ โดยเฉพาะสำหรับสตินั้น ต้องกระทำให้มากยิ่งกว่าธรรมทั้งปวง เพราะกุศลธรรมเหล่านั้นย่อมมีสติ เป็นที่พำนัก เป็นเครื่องป้องกันรักษาไม่ให้จิตตกไปสู่นิวรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีศรัทธามากกว่า อินทรีย์อีก 4 อย่างน้อย ผลก็คือวิริยะซึ่งทำหน้าที่ ประคองสติ สมาธิซึ่งทำหน้าที่ไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญาซึ่งทำหน้าที่รู้เห็น แต่ละอย่างๆ ไม่อาจทำหน้าที่ ของตนได้เต็มขีดขั้น ดังนั้นต้องลดศรัทธาลงด้วยวิธีไม่ใส่ใจ 3. มีความฉลาดในนิมิต คือ ประการที่ 1 ฉลาดในการทำนิมิตที่ยังไม่เกิดให้เกิด (ฉลาดให้เกิด) ประการที่ 2 ฉลาดในการรักษานิมิตที่เกิดแล้วมิให้เสื่อม (ฉลาดรักษา) 4. ประคองจิตในเวลาควรประคอง คือ ถ้าเห็นว่าจิตหดหู่ ท้อถอย ตกไปในความเกียจคร้าน ต้องประคองจิตใจด้วยการเจริญธรรมะ 3 ประการ คือ 1) ธัมมวิจยะ นึกถึงธรรมะที่พระเดชพระคุณท่านสอน ตริตรองธรรม แล้วนำมาสอนตน ให้เกิด กำลังใจ 2) สร้างสมาธิ หักดิบนั่งสมาธิทำความเพียรเรื่อยไป จนใจผ่องใส มีความเบิกบาน 3) สร้างปีติ โดยนึกถึงบุญที่เราได้สร้างไว้ ให้เกิดปีติอิ่มเอมใจ 70 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส มา ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More