ข้อความต้นฉบับในหน้า
5. นึกคิดในเรื่องที่ทำให้ใจสบาย
ตามที่พระพุทธเจ้าท่านแนะนำสั่งสอนไว้ ซึ่งมีอยู่ถึง 10 วิธี เรียกว่าอนุสติ 10 คือ พุทธานุสติ
ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสติ มรณานุสติ กายคตาสติ และอานา
ปานสติ ในที่นี้จะยกมาบางตัวอย่างที่มีการใช้กันมากในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
1. พุทธานุสติ คือการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ โดยยึดเอาคุณของพระพุทธเจ้า
เป็นอารมณ์ในการภาวนา
“ฝึกหัดปรับใจทุกๆ วัน ทุกๆ ครั้งที่เราปฏิบัติ เพราะฉะนั้นตอนนี้ใช้เวลา 1 หรือ 2 นาที ปรับให้ดี
ให้สบายๆ ให้ทั้งกาย ทั้งใจปลอดโปร่ง หายใจให้สบายๆ แล้วก็สมมติสร้างบรรยากาศว่า เป็นบรรยากาศ
ที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติธรรม โดยเราสมมติตัวของเราเองทุกๆ คน ว่าเราพร้อมๆ กันนี่ ได้เข้าเฝ้าเฉพาะ
พระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งปฏิบัติธรรมต่อหน้าพระองค์ เฉพาะพระพักตร์ทีเดียว”
2. จาคานุสติ คือ ระลึกถึงการบริจาคทานของตน ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์อยู่เนืองๆ ในที่นี้ หมายถึง
การทำบุญกุศลต่างๆ
“ต้องนึกถึงเรื่องที่ทำให้สบาย อย่างเช่นในตอนนี้ เราได้ผ่านวันมาฆบูชามหาสมาคมกันมา
นับถึงวันนี้ก็ 9 วัน 10 วันเต็ม เหตุการณ์ที่ผ่านไปวันนั้น ถ้าหากว่าเราเป็นนักสร้างบารมีที่ดี เราก็จะเลือก
เก็บเกี่ยวเอาในสิ่งที่จะทำให้เราเกิดความบันเทิงใจ คือนึกถึงแต่ภาพที่เรามีความสุขใจกันตั้งแต่เช้าวัน
นั้นเรื่อยไปเลยว่า ตอนเช้าเราได้ปฏิบัติธรรม ตอนบ่ายได้ถวายผ้าป่า ตอนเย็นก็หล่อรูปเหมือนหลวงพ่อ
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ตอนเย็นวันนั้นก็รวมกันจุดมาฆประทีป
บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวก 1,250 รูป ในวันนั้น ให้นึกถึงแต่สิ่งที่ทำให้ใจเราเบิกบาน”
3.5 การปรับใจตามแนวทางของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เป็นนักปฏิบัติธรรม ที่ปฏิบัติธรรมได้ดี สามารถ
ฝึกใจจนใจเป็นสมาธิในทุกอิริยาบถ ไม่จำกัดด้วยเวลา โอกาสและสถานที่ และท่านได้รับผลแห่งการฝึก
ปฏิบัติสมาธิอย่างดีเยี่ยม ถือเป็นต้นแบบของนักปฏิบัติธรรม ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่าง แนวทางในการปรับ
ใจตามที่คุณยายแนะนำ
1. เวลาเข้าที่นั่งธรรมะแล้ว เรื่องทุกอย่างต้องทิ้งให้หมด มีธรรมะอย่างเดียว เรื่องอื่นพักไว้ก่อน
ต้องตั้งเข็มทิศให้ตรงว่า นั่งธรรมะจะมาเอาธรรมะ เรื่องอื่นไม่เอา
1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธรรมเทศนา วันอาทิตย์ต้นเดือน ตุลาคม 2531
* พระราชภาวนาวิสุทธิ์ พระธรรมเทศนา 5 ธันวาคม 2536
34 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า