ข้อความต้นฉบับในหน้า
ตนเองเดือดร้อน เช่น นึกถึงภาพสงคราม การฆ่าฟันกัน การตีรันฟันแทง เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรนึกถึงเพราะทำให้ใจของผู้ปฏิบัติฟุ้งซ่านไม่เป็นทางมาแห่งความ
สงบใจได้ จึงไม่ควรนึกถึง
4.4 นิมิตที่แนะนำให้ใช้
ในแง่ของการปฏิบัติ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ท่านแนะนำว่า ให้เรานึกถึงอะไรก็ได้
ที่ทำให้ใจของเราสงบขึ้น โดยท่านแนะนำให้นึกนิมิต เช่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หรือหยดน้ำใส
บนปลายยอดหญ้า หยดน้ำใสบนใบบัว ฟองสบู่ หรือนิมิตที่ผู้ปฏิบัติชอบ ซึ่งสามารถนำใจให้หยุดนิ่งได้ เช่น
แตงโม ส้ม บาตรพระ ทุเรียน ซาลาเปา เป็นต้น
สำหรับนิมิตที่นิยมให้นึกกัน
ซึ่งสืบมาตั้งแต่ครั้งสมัยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี
(สด จันทสโร) ท่านแนะให้ใช้นิมิตที่เป็นนิมิตแสงสว่าง เรียกว่า อาโลกกสิณ ซึ่งนิมิตที่นำมาใช้เป็นหลัก
ในการทําสมาธิมี 2 อย่าง คือ ดวงแก้วใส และองค์พระใส
สาเหตุที่แนะนำให้ใช้นิมิตเช่นนี้ มีผู้อธิบายไว้ว่า
1. การวางดวงแก้วไว้ที่ศูนย์กลางกายตลอดวัน ทำให้ใจของเราอยู่ที่ศูนย์กลางกายได้ง่ายขึ้น
2. จะทำให้ใจเป็นบวกหรืออย่างน้อยที่สุดเป็นกลางๆ คือ ช่วยให้จิตเป็นกุศล
3. ดวงแก้วเป็นของที่ใส สะอาด และบริสุทธิ์ คล้ายคลึงกับสภาวะใจที่รวมเป็นหนึ่ง คือ
สภาวะของดวงธรรมภายใน ดวงแก้วจะนำใจของเราให้สะอาดและบริสุทธิ์ และจะนำไปสู่การประสบ
ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม อีกทั้งจะเป็นการลัดขั้นตอนช่วยย่นระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เห็น
(บริกรรมนิมิต) เนื่องจากนิมิตทุกชนิด เมื่อได้ทำภาวนาไประยะหนึ่ง จิตเกิดความสงบนิ่งดีแล้ว นิมิตทุกชนิด
จะเปลี่ยนเป็นของใส เปลี่ยนเป็นแก้ว เพื่อย่นระยะเวลาการเปลี่ยนของภาพ ไม่ต้องรอให้มาถึงจุดนี้
การนึกถึงสิ่งที่มีความใกล้เคียงกัน จะช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติลงได้
4. สำหรับองค์พระแก้วใสก็คล้ายคลึงกับสภาวธรรมภายใน เมื่อใจละเอียดไปตามลำดับ
จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย องค์พระแก้วใสจึงเป็นตัวแทนนิมิตที่ทำให้ใจสามารถเข้าไปสู่จุดที่ใจหยุดนิ่ง
จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย
ในกรณีที่ยังนึกองค์พระให้ใสไม่ได้ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ท่านแนะนำให้นึกองค์พระ
ที่เป็นวัสดุอื่นก็ได้ เช่น โลหะ อิฐ หิน และแนะนำวิธีการนึกองค์พระว่าให้นึกเหมือนเรามองจากด้านบน
1 Dhammakaya Foundation, Meditator 's Handbook, Bangkok : Sukhumvit Printing Co., Ltd.,
Thailand, p. 69
42 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า