ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อได้เกิดเป็นคน มีกายที่ตั้งตรงอยู่แล้ว มีโอกาสหาศูนย์กลางกายได้ง่าย และหาทางไปนิพพาน
ได้เร็ว ก็ควรจะฉวยโอกาสรีบปฏิบัติธรรมเสียก่อน ไม่ควรทำความลำบากให้แก่ตัว คือ ไม่นั่งหลังงอ ไม่ยืน
หลังโกง ไม่ก้มกายเลียนแบบสัตว์ ต้องนั่งยืดกายให้ตัวตรงจนหน้าตัดของกระดูกสันหลังทุกๆ ข้อรับกันสนิท
เต็มหน้าตัด
ประโยชน์จากการตั้งกายตรง คือ
ก. ช่วยให้การโคจรของโลหิตและลมหายใจไม่ติดขัด
ข. ทำให้นั่งได้ทน ไม่ปวดเมื่อยง่าย
ค. หาศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้ง่าย
4) ดำรงสติมั่น ตั้งแต่ทหารเลว พลเดินเท้า ไปจนถึงแม่ทัพผู้บัญชาการรบ ต่างก็มีความสำคัญ
แก่กองทัพด้วยกันทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญที่สุด คือ แม่ทัพผู้บัญชาการรบ ถ้าแม่ทัพเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม
มีฝีมือเข้มแข็งแล้ว เป็นอันมั่นใจได้ว่าต้องรบชนะ สติ คือ แม่ทัพใหญ่ในการสู้รบกับกิเลส สติคือหัวใจ
ของการฝึกสมาธิ ความมุ่งหมายประการสำคัญที่สุดของการฝึกสมาธิ ก็คือ ต้องการให้เป็นผู้มีสติ
ถ้าผู้ใดขาดสติหรือสติฟั่นเฟือนก็ไม่สามารถฝึกสมาธิได้
2.4 วิธีการปรับร่างกายให้เหมาะสม
2.4.1 ขั้นตอนการปรับกาย
1. ให้ใช้ท่านั่งขัดสมาธิโดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้ของมือข้างขวา
จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบายๆ
2. ขยับร่างกายให้พอเหมาะพอดี อย่าให้งุ้มมาข้างหน้ามากเกินไป หรือหงายไปข้างหลัง หรือ
เอียงไปข้างๆ ตั้งกายให้ตรงพอเหมาะพอดี ไม่ถึงกับยืดเกินไป ต้องปรับให้ดี และหลับตาลงเบาๆ
3. หลับตาแล้ว ให้สำรวจดูว่ามีส่วนใดของร่างกายเกร็งหรือเครียดไหม สำรวจดูให้ทั่ว
4. เมื่อพบว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เกร็งหรือเครียด ก็ให้ขยับเนื้อขยับตัว โดยกะคะเน
ให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก
5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายให้หมด ตั้งแต่กล้ามเนื้อที่เปลือกตา กล้ามเนื้อที่ศีรษะ
ต้นคอ บ่า ไหล่ แขนทั้งสอง ลำตัว ตลอดจนกระทั่งขาทั้งสองถึงปลายนิ้วเท้า ให้ผ่อนคลายให้หมด
6. ปรับท่านั่งร่างกาย จนกระทั่งมีความรู้สึกว่านั่งแล้วสบาย เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก
นี่คือการเตรียมตัว เตรียมร่างกายสำหรับการปฏิบัติธรรม ถ้าหากเราทำอย่างนี้จนกระทั่ง
ติดเป็นนิสัยแล้ว เวลานั่งครั้งต่อไปจะเข้าถึงสมาธิได้ง่าย
18 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า